วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

MIND MAP IT MANAGEMANT


นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  5511600271 สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทความที่ 4

ส่งงาน ครั้งที่ 6 เลือกบทความมา 1 บทความ

บทความที่ 4 ผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกี่ยวกับการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรกับการใช้บริการจากภายนอกองค์กร
     จากบทความผลกระทบด้านต่าง ๆ ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กร
ในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในองค์กรนั้น ผู้บริหารมีความคาดหวังให้เกิดผลที่ดีในด้านการปฏิบัติงาน และการบริหารงาน เช่น การเพิ่มผลิตผล (Productivity) โดยรวมขององค์กร ทำให้องค์กรสามารถนำเสนอสินค้า และ บริการใหม่ๆ ให้กับลูกค้า และคู่ค้าขององค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และเสริมภาพพจน์ที่ดีขององค์กร แต่อย่างไรก็ดี การนำระบบสารสนเทศมาใช้ภายในองค์กรนั้นก่อให้เกิดผลกระทบในการทำงานด้านต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานโดยรวมขององค์กร ซึ่งผลกระทบเหล่านี้ ประกอบด้วย
1.      หลักฐานอ้างอิงของการทำรายการ (Audit Trail) ที่สามารถมองเห็นได้อาจขาดหายไป
          ในการนำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้นั้น อาจก่อให้เกิดกรณีที่เอกสารประกอบรายการทางธุรกิจต่างๆ ที่เคยมีอยู่ในกระบวนการทำงานปกติขาดหายไป ทั้งนี้ อาจเป็นเอกสารที่ใช้เฉพาะภายในองค์กร หรืออาจเป็นเอกสารที่ใช้สำหรับบุคคล หรือองค์กรภายนอกก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เอกสารอ้างอิง หรือเอกสารประกอบรายการอาจมิได้ขาดหายไป แต่อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากที่เคยเป็นเอกสารที่เป็นกระดาษ หรือลายเซ็นที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ง่าย กลายมาเป็นเอกสารที่เก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในระบบงานสารสนเทศ ซึ่งทำให้กิจกรรมการควบคุมต่างๆ ที่จำเป็นต้องอ้างถึงเอกสารต่างๆ เหล่านี้ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการในการดำเนินการไป
2.      ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยให้การควบคุมโดยการคุมงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
          การควบคุมที่ทำให้มั่นใจว่างานที่มอบหมายให้พนักงานทำมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพตรงกับความต้องการของผู้ควบคุมงาน ก็คือ การควบคุมโดยการคุมงาน (Supervisory Control) ซึ่งการควบคุมในลักษณะนี้ หลายๆ กรณีต้องใช้ข้อมูลการทำงานประกอบการควบคุม และอาจจำเป็นต้องมีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลให้ผู้ควบคุมงาน ซึ่งถ้าการทำงานนั้นๆ ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ           ผู้ควบคุมอาจสามารถใช้ข้อมูลในระบบงานนั้นๆ ประกอบการควบคุม ตัวอย่างของการควบคุมโดยการคุมงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยนั้น มีดังต่อไปนี้
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange) ภายในห้องค้าเงิน (Dealing Room) โดยที่หัวหน้าห้องค้าเงินจะกำหนดเพดานของแต่ละสกุลเงินให้กับผู้ค้าเงินแต่ละรายก่อนเริ่มการซื้อขาย และระหว่างการซื้อขายระบบคอมพิวเตอร์จะคอยติดตามมูลค่า ของเงินแต่ละสกุล เมื่อมีผู้ค้าเงินรายใดที่มีมูลค่าเงินใกล้จะถึงเพดานสูงสุด ระบบจะส่งข้อมูลให้หัวหน้าห้องค้าเพื่อเป็นการเตือนให้ทำการควบคุม ดูแล อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
          อีกกรณีหนึ่งคือการนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการติดตามหนี้ทางโทรศัพท์ โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์จะช่วยควบคุมการทำงานของพนักงานติดตามหนี้ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะบันทึกเวลาที่ใช้ในการโทรแต่ละครั้ง และบันทึกอัตราผลสำเร็จ เพื่อวิเคราะห์ และติดตามผลงานของพนักงานแต่ละคน
3.      ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสร้างรายการหรือดำเนินการบางส่วนได้เอง
          ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสร้างรายการทางธุรกิจขึ้นมาได้เอง ถ้าได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม เช่น การสั่งซื้อสินค้าเมื่อปริมาณสินค้าคงคลังลดลงจนถึงจุดสั่งซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้ามากประเภท เช่น ธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า และซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น
          ตัวอย่างอื่นๆ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ทำรายการเอง เช่น ระบบคอมพิวเตอร์อนุมัติรายการการใช้บัตรเครดิตทุกครั้งที่ผู้ถือบัตรใช้บัตรเครดิต ในการชำระค่าสินค้า หรือค่าบริการ หรือในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ส่งข้อความเพื่อทวงถามให้ผู้ใช้โทรศัพท์จ่ายค่าโทรศัพท์เมื่อมีการผิดนัดชำระเงิน เป็นต้น
          การที่ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสร้างรายการได้เองนั้นมีทั้งผลดี และผลเสีย ผลดี คือการทำงานมีความถูกต้องแม่นยำ และไม่มีความลำเอียงในการตัดสินใจ ส่วนผลเสียคือ ถ้ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นอาจทำให้ตรวจพบได้ยาก และหาผู้รับผิดชอบได้ยาก
4.      ระบบคอมพิวเตอร์มีความสม่ำเสมอในการประมวลผล
          คุณสมบัติด้านความคงที่ และสม่ำเสมอในการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์นั้น เป็นคุณสมบัติที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการประมวลผลด้วยมือ หรืออาจกล่าวได้ว่าถ้ามีการทดสอบโปรแกรมอย่างถูกต้องแล้ว โปรแกรมดังกล่าวจะประมวลผลรายการอย่างถูกต้องในทุกครั้งที่ทำการประมวลผล ยกเว้นมีปัจจัยภายนอกรบกวนการทำงานของโปรแกรมนั้นๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงาน เป็นต้น อัตราความสม่ำเสมอในการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น แทบจะเรียกได้ว่ามีความสม่ำเสมอในการประมวลผลเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์
5.      การแบ่งแยกหน้าที่งานภายในระบบงานคอมพิวเตอร์
          ในการทำงานที่เป็นระบบมือ (Manual) นั้นการแบ่งแยกหน้าที่งานถือเป็นพื้นฐานสำคัญของการควบคุมภายใน เช่น การแบ่งแยกการสร้างรายการ การบันทึกรายการ และผู้เก็บรักษาทรัพย์สินให้เป็นคนละคนกัน เป็นต้น แต่ในระบบคอมพิวเตอร์ การทำงานบางส่วนอาจไม่จำเป็นต้องมีการแบ่งแยก เช่น ระบบคอมพิวเตอร์อาจถูกออกแบบมาให้ทำงานในลักษณะเบ็ดเสร็จ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ตรวจเช็คความถูกต้องของใบแจ้งหนี้กับรายการการรับของและจัดพิมพ์เช็คสั่งจ่ายให้กับผู้ขายสินค้าโดยโปรแกรมเดียวกัน
6.      การควบคุมอื่นๆ ต้องพึ่งพาระบบคอมพิวเตอร์
          ในกรณีที่การดำเนินการควบคุมอื่นๆ ภายในองค์กรจำเป็นต้องใช้ข้อมูล และรายงานจากระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งการควบคุมดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลก็ต่อเมื่อข้อมูล และรายงานที่ได้รับจากระบบคอมพิวเตอร์มีความถูกต้อง และครบถ้วน ตัวอย่างของกรณีนี้ เช่น การใช้รายงานอายุหนี้ (Aging Report) เป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมการติดตามหนี้นั้น ถ้ารายงานผิดพลาด การติดตามหนี้ก็จะขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามไปด้วย
          กรณีนี้เป็นกรณีที่ควรได้รับการเอาใจใส่ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล และรายงานเป็นพิเศษ เพราะผู้ใช้งานอาจเชื่อด้วยความเคยชินว่ารายงานต่างๆ เหล่านั้นถูกต้อง และจะดำเนินการตามข้อมูลที่ปรากฏเป็นสำคัญ ซึ่งในบางกรณีอาจเกิดผลกระทบที่รุนแรงได้
7.      ผลกระทบต่อการตรวจสอบ
          เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ทำให้ลักษณะของการทำงาน และการควบคุมเปลี่ยนแปลงไป ย่อมจะมีผลกระทบทำให้การตรวจสอบเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ซึ่งสามารถสรุปผลกระทบออกเป็น 2 ด้านที่สำคัญ คือ ผลกระทบในการรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบ (Audit Evidence Collection) และผลกระทบต่อการวิเคราะห์หลักฐานการตรวจสอบ
          ในด้านการรวบรวมหลักฐานนั้น ผู้ตรวจสอบอาจมีความจำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานการตรวจสอบจากระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง ถ้าหลักฐานเหล่านั้นเก็บไว้เฉพาะในระบบคอมพิวเตอร์ โดยอาจใช้ซอฟต์แวร์สำหรับ การตรวจสอบเพื่อรวบรวมหลักฐาน
          ในส่วนของการวิเคราะห์หลักฐานในการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบก็สามารถใช้ซอฟต์แวร์สำหรับการตรวจสอบเพื่อวิเคราะห์หลักฐานต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งข้อได้เปรียบของการวิเคราะห์โดยวิธีนี้ คือผู้ตรวจสอบสามารถตรวจสอบรายการเป็นจำนวนมาก ซึ่งในบางกรณีอาจวิเคราะห์หลักฐานการตรวจสอบได้เป็นจำนวนทั้งหมด หรือร้อยเปอร์เซ็นต์ของจำนวนรายการทั้งหมด
          นอกเหนือจากหลักฐานการตรวจสอบด้านอื่นๆ แล้ว หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบระบบสารสนเทศ ก็อาจมีความแตกต่างไปจากการตรวจสอบอื่นๆ กล่าวคือ หลักฐานดังกล่าวต้องเป็นหลักฐานที่ได้จากระบบคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น การตรวจสอบค่าพารามิเตอร์ (Computer Parameters) ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น
8.      การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างรวดเร็ว
          เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่นับได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างรวดเร็ว ถ้าเปรียบเทียบกับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และการเสริมสร้างความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมและการรักษา ความปลอดภัยระบบสารสนเทศ ซึ่งในแต่ละวันอาจมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้องค์กรต้องปรับปรุงระบบควบคุม และรักษาความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา

ผลกระทบของ Outsourcing
          สาเหตุหลักของความนิยมแนวคิด Outsourcing ขององค์กรต่างๆ มาจาก ความพยายามที่จะสร้างองค์กรของตน ให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้อย่างยืดหยุ่น รวมถึงให้มีความสามารถที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างเท่าทัน โดยมีความอยู่รอด เป็นเป้าหมายสูงสุด
          วิถีการ Outsourcing สะท้อนภาพความพยายามลดขนาดองค์กรลง เพื่อลดต้นทุนด้านการจ้างแรงงานถาวรเพิ่มเติม และสะท้อนภาพความพยายามแก้ปัญหา การไม่สามารถพัฒนาบุคลากรภายในองค์ ให้สามารถปฏิบัติงานซึ่งต้องการองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ทันตามความต้องการ
หนึ่งในตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้ความนิยมการ Outsourcing เพิ่มขึ้น คือ สภาพความจำเป็นที่องค์กรต้องนำ ICTมาประยุกต์ใช้ ในการดำเนินการด้านต่างๆเพิ่มมากขึ้น
          พร้อมกันนี้ การที่เทคโนโลยี ICT มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งเป็นผลผลักดันให้องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มเลือกใช้การ Outsourcing เพิ่มขึ้น  เนื่องจาก การประยุกต์ใช้ ICT แต่ละประเภท ทำให้องค์กรมีความต้องการทรัพยากรบุคคล ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งเหมาะสมและสอดคล้อง กับเทคโนโลยีที่นำมาใช้  นั่นหมายความว่า ในทุกครั้งที่ประสงค์นำเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ องค์กรจำเป็นต้องดำเนินการ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อจัดหาบุคคลที่มีความสามารถสอดคล้องกับเทคโนโลยี มาทำงานให้กับองค์กรและเมื่อวิเคราะห์จากมุมมองความคุ้มค่าในการลงทุน องค์กรต่างๆมักมองว่า การว่าจ้างแรงงานระยะสั้นจากภายนอก ที่มีความสามารถตามต้องการ หรือการ Outsourcing มีความคุ้มค่ากว่า การพัฒนาทรัพยากรบุคคลภายใน ให้มีความรู้และความสามารถ ในระดับที่องค์กรต้องการ เนื่องจากทางเลือกที่สอง มักถูกมองว่า เป็นทางเลือกที่ต้องใช้เวลาและใช้เงินลงทุน แต่ไม่อาจรับประกันความสำเร็จได้ว่า องค์กรจะได้บุคลากรที่มีความสามารถ ในระดับและได้ทันในเวลาที่ต้องการ
          การ Outsourcing อาจเป็นแนวทาง ที่ช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความต้องการใช้งาน ICT ที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถรับมือกับทางเทคโนโลยี ICT ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แต่การ Outsourcing จะเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งอาจนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆต่อไป หากแนวทางดังกล่าว มุ่งรับมือแค่เพียงอุปสรรคข้างต้น โดยไม่สนใจผลกระทบ ทั้งในระดับองค์กรและในระดับปัจเจกบุคคล อันเกิดจากการ Outsourcing
          ผลกระทบในระดับองค์กรที่อาจเกิดขึ้น หากองค์กรใดขาดการวางแผนการ Outsourcing อย่างรอบคอบ ก็คือ ความเสี่ยงต่อการสูญเสีย ความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร
          ความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร หมายถึง ความรู้ ความสามารถ วิถีปฏิบัติ แนวความคิด รวมทั้งวัฒนธรรมและจิตวิญญาณองค์กร ที่ทำให้องค์กรยังคงสามารถแข่งขันได้ในตลาด หรือทำให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
          หากองค์กรทำการ Outsourcing การดำเนินงาน ที่ถือว่ามีความสำคัญ หรือมีคุณค่าต่อองค์กรออกไป องค์กรนั้นมีความเสี่ยงที่จะสูญเสีย ความรู้ ความสามารถ และวิถีปฏิบัติ ที่สำคัญและจำเป็นต่อการแข่งขันในตลาด ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร
หากองค์กรใช้การ Outsourcing มากจนเกินไป อาจส่งผลให้ความเข้มแข็ง ของความสัมพันธ์ภายในองค์กรลดลง อันเนื่องจากสังคมการทำงานภายในองค์กร ถูกแทรกแทรงด้วยสังคมการทำงาน ของบุคลากรภายนอก ซึ่งอาจส่งผลให้องค์กร มีความเสี่ยงที่จะสูญเสีย วัฒนธรรมและจิตวิญญาณองค์กร ซึ่งถือเป็นหนึ่งในความสามารถหลักในการแข่งขันขององค์กร
          นอกจากนี้ หากมองในด้านความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรและบุคลากรภายใน การ Outsourcing มักทำให้ความสัมพันธ์นี้อ่อนแอลง อีกทั้งยังส่งผลให้พนักงานมีความรักองค์กรลดลงอีกด้วย ซึ่งความรักองค์กรนั้น ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็ง
          แนวโน้มการนำการ Outsourcing มาใช้ สะท้อนภาพที่ว่า องค์กรต่างๆให้ความสำคัญ กับการได้มาซึ่งแรงงาน ที่มีความสามารถตามที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญ กับผลประโยชน์ระยะสั้น มากกว่าการให้ความสำคัญกับบุคลากรภายใน โดยการพัฒนาบุคลากรภายใน ให้มีความรู้ความสามารถ ที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ในระยะยาว
          อีกทั้งการ Outsourcing ยังก่อให้เกิดความเสี่ยง ในการสูญเสียบุคลากรผู้มีความสามารถสูง หรือที่เรียกว่า ภาวะสมองไหลอันเนื่องมาจากองค์กร มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับบุคลากรภายในลดลง
          ในขณะที่การ Outsourcing ส่งผลกระทบในระดับองค์กร มันก็ส่งผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคล ด้วยเช่นกัน
          โดยผลกระทบในระดับปัจเจกบุคคล เกิดขึ้นในลักษณะของ ความไม่พร้อมของแต่ละปัจเจกบุคคล รวมทั้งความไม่พร้อมของกลไกทางสังคมต่างๆ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงไปของความสัมพันธ์ ระหว่างพนักงานผู้ถูกจ้างและองค์กรผู้ว่าจ้าง และการเปลี่ยนแปลงไปของตลาดแรงงาน
          ภาพที่เกิดขึ้น คือ บุคลากรภายในองค์กร มีแนวโน้มได้รับการพัฒนา ศักยภาพในการทำงานน้อยลง และเริ่มมีการปลดพนักงานมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างๆมุ่งลดขนาดองค์กรลง อีกทั้งรูปแบบองค์กรต่างๆเริ่มเปลี่ยนเป็นลักษณะของ องค์กรมืออาชีพที่มีความสามารถเฉพาะมากขึ้น
          ความสัมพันธ์ระหว่าง พนักงานผู้ถูกจ้างและองค์กรผู้ว่าจ้าง จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเป็นไปในลักษณะของความสัมพันธ์ระยะสั้นมากขึ้น นั้นคือ ผู้ว่าจ้างและผู้ถูกจ้าง จะทำงานร่วมกันเป็นรายโครงการ ตกลงร่วมงานกันโดยดูที่ ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับระดับความสามารถ ในการทำให้โครงการเกิดผลสัมฤทธิ์
          ในปัจจุบัน ภาพเหล่านี้ถูกสะท้อนด้วย การเกิดขึ้นอย่างมากมายและการได้รับความนิยม ของบริษัทที่ปรึกษาหรือบริษัทรับเหมาทำงานเฉพาะด้าน (Professional Services Organisation) ในด้านต่างๆ
          นั่นหมายความว่า แต่ละปัจเจกบุคคลผู้กำลังเล่นบท ผู้ถูกว่าจ้าง มีแนวโน้มที่จักต้องรับผิดชอบพัฒนา ศักยภาพในการทำงานด้วยตนเอง และต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ของรูปแบบและเงื่อนไขความสัมพันธ์ ระหว่างตนเองกับผู้ว่าจ้าง ซึ่งมีแนวโน้มเป็นความสัมพันธ์ระยะสั้นมากขึ้น
          นอกจากนี้ หากมองจากมุมของตลาดแรงงาน จักต้องมีการนำกลไกใหม่ๆ เข้ามาใช้สนับสนุนการทำงานของตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงข้างต้นได้
ตัวอย่างของกลไกดังกล่าว ได้แก่ กลไกการให้ความรู้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าว กับผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง กลไกสนับสนุนผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง ให้สามารถพัฒนาตนเอง อย่างเหมาะสมในสายอาชีพตน และกลไกอื่นๆ ที่สามารถช่วยรับมือกับ สถานการณ์ซึ่งผู้กำลังเล่นบทผู้ถูกว่าจ้าง ได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนไปของตลาดแรงงาน เป็นต้น
          นอกจาก ICT จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ซึ่งมีผลโดยตรงกับปรากฏการณ์ทั้งหมดข้าง ความสามารถของมันยังเป็นตัวแปรสนับสนุน ซึ่งมีผลทางอ้อมกับปรากฏการณ์ดังกล่าวอีกด้วย
โดยความสามารถของ ICT ที่ทำให้โลกทั้งใบสื่อสารถึงกันได้อย่างง่ายดาย ภายในระยะเวลาอันน้อยนิด และด้วยต้นทุนที่ต่ำลงอย่างมาก ทำให้องค์กรที่กำลังมองหาผู้เข้ามาดำเนินการ Outsourcing สามารถเข้าถึงตัวเลือกอย่างมากมาย อีกทั้งยังทำให้การประสานงาน ระหว่างผู้ต้องการและผู้รับการ Outsourcing ทำได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนี้ ช่วยสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ มีแนวโน้มเลือกใช้การOutsourcing มากขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ท่านคิดว่าหากนำการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศประยุกต์ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติบุคลากรในองค์กร แบบ 360องศา ท่านคิดว่าจะดีหรือไม่เพราะอะไร ทั้งนี้โปรดระบุปัญหาและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นพร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว
การนำการประเมินแบบ 360 องศา มีทั้งผลดีและผลเสีย
ประโยชน์ของการประเมิน (ผลดี)คื
1. แบ่งเบาภาระในการบันทึกพฤติกรรมของผู้ประเมินและถูกประเมิน
2. ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงจุดเด่น และจุดด้อยที่ต้องปรับปรุง
3. ทำให้ผู้ประเมินและถูกประเมินมีมุมมองที่ตรงกัน
4. ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา
5. ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล
6. กระตุ้นให้พนักงานเกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
7. ทำให้เห็นภาพของพฤติกรรมที่แท้จริงได้ชัดเจนขึ้น
ปัญหา (ผลเสีย) คือ
1.  ประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกิดจากผู้บังคับบัญชาประเมินไม่เป็นไปตามจริง ประเมินผู้ใต้บังคับบัญชาเท่าๆกัน เพื่อรักษาน้ำใจ หรือเพื่อใช้เป็นฐานรองรับอำนาจและบารมีของตัวเอง
2.  การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ เพราะความไม่เข้าใจและยังไม่เห็นประโยชน์ที่ทำ

3.
ปัญหาการให้คะแนนสูงเกินจริงหรือการกดคะแนน 
4. อคติที่เกิดจากการประเมิน
5. ปัญหาเรื่องการเก็บรักษาความลับในการประเมิน
6. ความไม่ชัดเจนของนโยบายผู้บริหารระดับสูง 
7. การขาดการสื่อสารทำความเข้าใจและการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่พนักงาน ซึ่งส่งผลให้พนักงานมีทัศนคติในแง่ลบต่อระบบ

วิธีแก้ปัญหา
นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นแหล่งให้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาไปในแนวทางเดียวกัน

นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  
5511600271

สรุปประโยชน์จากการนำ GIS มาพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS
คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลายจะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลง ที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
สรุปประโยชน์จากการนำ GIS มาพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี 
1.     ด้านสาธารณูปโภค กิจการไฟฟ้าทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและอำเภอต่างๆ มีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ช่วยอำนวยความสะดวกในการบริการไฟฟ้าสู่บ้าน ตั้งแต่การขอใช้ การติดตั้ง การแก้ปัญหากรณีกระแสไฟตกหรือไฟฟ้าดับให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ไปจนถึงระบบการจัดเก็บค่าบริการที่ยุติธรรมและมีประสิทธิภาพ รวมไปจนถึงน้ำประปาด้วย
2.     ด้านการศึกษา ข้อมูลจำนวนและที่อยู่ของประชากรช่วยในการวางแผนก่อสร้างโรงเรียน จัดการให้นักเรียนได้เข้าโรงเรียนใกล้บ้าน มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มาช่วยปรับปรุงระบบรถรับส่งนักเรียนให้วิ่งผ่านตำแหน่งที่สะดวก ปลอดภัยและประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด
3.     ด้านการขนส่ง  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ช่วยในการเลือกเส้นทางสะดวกที่สุดสำหรับการขนส่งสินค้าจากโรงงานผลิตสู่แหล่งจำหน่ายและสู่ร้านค้าปลีก ลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ ลดปริมาณการจราจร ลดมลภาวะอากาศเป็นพิษจากเครื่องยนต์ และลดความสึกหรอของถนน
การเชื่อมโยงข้อมูลปริมาณการขายกับแผนที่ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพวิเคราะห์วางเป้าหมายการตลาดในแต่ละพื้นที่สำหรับสินค้าแต่ละชนิด
4.     ด้านการสาธารณสุข การประยุกต์ใช้ GIS ในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข เช่น การวิเคราะห์การแพร่ของโรคระบาด การระบุตำแหน่งของผู้ป่วยโรคต่างๆ บนแผนที่เป็นที่อยู่ของคนไข้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงสำหรับการส่งความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินหรือแนวโน้มการระบาดของโรค ซึ่งการประยุกต์ใช้ GIS จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
5.     ด้านสิ่งแวดล้อม  ระบบการจัดเก็บขยะที่มีประสิทธิภาพ และการเลือกที่ทิ้งขยะที่เหมาะสม ไม่รบกวนประชากรในชุมชน ช่วยป้องกันการเกิดโรคระบาดติดต่อ รักษาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งสนับสนุนการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและช่วยในการแก้ปัญหาและป้องกันความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
6.     ด้านการท่องเที่ยว มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างสูง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจที่มาติดต่อการค้า ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้มีข้อมูลเบื้องต้นในการหาที่พัก แหล่งธุรกิจ และโรงพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน โดยมีหลักการกว้างๆคือการนำเอาสิ่งอำนวยความสะดวกและความครบวงจรของการบริการ
7.     ด้านข้อมูลต่างๆ  ข้อมูลภูมิประเทศ แหล่งน้ำ และการใช้ที่ดิน ใช้สำหรับการวางแนวถนนหรือคลองส่งน้ำชลประทานตลอดจนระบบการจ่ายน้ำเพื่อให้ได้ประโยชน์กับคนส่วนมากที่สุด ระบบ GIS สามารถช่วยพิจารณาค่าตอบแทนหรือค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรมสำหรับเจ้าของที่ดินตามแนวการก่อสร้าง

นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  
5511600271

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


        เว็บไซต์ ครูบ้านนอกดอทคอม เป็นเว็บไซต์เพื่อการศึกษา  ซึ่งผู้สร้างเว็บไซต์นี้ มีจุดมุ่งหมาย


เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู  ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญาและเจริญก้าวหน้าในอาชีพ


             ที่เลือกเว็บไซต์นี้ เพราะ เป็นเว็บไซต์ที่ให้ความรู้และความต้องการในข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับครู อีกทั้งยังมีเนื่อหาสาระในเรื่องต่างๆมากมาย เปรียบได้กับเป็นห้องสมุดของครูหรือบุคคลที่ต้องการจะไปเป็นครูในอนาคต อีกทั้งยังสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างเพื่อนครู อีกทั้งยังสามารถเผยแพร่ผลงานหรือบทความต่างๆผ่านทางเว็บนี้ได้ เมื่อดิฉันมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบข่าวสาร เว็บไซต์นี้จะช่วยไขข้อข้องใจได้เป็นอย่างดี


          เว็บไซต์นี้ส่วนคล้องต่อนโยบายรัฐบาลในเรื่องของการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้เป็นกลไกในการสร้างคนให้เป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยมี ศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่อย่างไทยในสังคมโลกอย่างเป็นสุข รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติให้ก้าวหน้า มั่นคง สมดุล และยั่งยืน โดยให้ผู้ผ่าน การศึกษามีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะสำคัญดังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทย
                                         
http://www.kroobannok.com/


                              นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  5511600271

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

1. จะนำ ICT มาใช้ในโครงการ อุบล เมืองสุขภาพ  (Ubon Be Health ) ในประเด็นใดบ้าง
จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นเมืองที่ใหญ่และมีประชากรจำนวนมาก เมืองอุบลจะต้องมีระบบงานบริหารที่สำคัญและสถานที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาร่างกายที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรง  ในการที่จะทำให้บุคคลทั่วไป หรือคนอุบลฯหันมาออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ยาก เราสามรถนำ ICT มาพัฒนาและปรับปรุงเรื่องสุขภาพ ให้เป็นเรื่องง่ายได้ดังนี้
       
1. มีนโยบายเสริมสร้างสุขภาพ  โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ทั้งทางเว็บไซต์ วิทยุ โทรทัศน์หรือทำเป็นแผ่นพับประชาสัมพันธ์ถึงการออกกำลังกาย
       
2. มีการจัดประกวดการออกกำลังกาย ในระดับต่างๆเริ่มตั้งแต่เด็กอนุบาลไปจนถึงผู้สูงอายุ  ตามระดับชุมชน  หรือแม้กระทั่งระดับเมืองใหญ่ และมีรูปแบบที่หลากหลายสร้างจุดเด่นให้กับเมืองอุบล และนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อเก็บไว้เป็นเครื่องยืนยันและสืบต่อกันไปเรื่อยๆ
       
3. มีการจัดสถานที่ให้ทันสมัย  นำเทคโนโลยีมาช่วยในการออกกำลังกาย  เช่น มีการฉายวีดิทัศน์จอใหญ่ๆ เพื่อดึงดูดให้คนอุบลสนใจการออกกำลังกาย
2.  จะเอา ICT มาช่วยในการสร้างวิสัยทัศน์ให้กับจังหวัดอุบลราชธานีในประเด็นใดบ้าง 
        ปัจจุบันการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากขึ้นจนเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวมีมากกว่าผู้ให้บริการการท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมมีการใช้อินเตอร์เน็ตในการท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็เปลี่ยนมาให้บริการทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น  การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอสินค้าและบริการ อินเทอร์เน็ตเป็นที่รวบรวมสารสนเทศ ทำให้นักท่องเที่ยวยอมรับบริการและการสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ สร้างผู้บริโภคใหม่ที่สามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนท่องเที่ยวและวางแผนการเดินทางด้วยตนเอง อินเทอร์เน็ตนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้บริโภคขาดความจงรักภักดี นักท่องเที่ยวมีจำนวนมากขึ้นแต่ลดระยะเวลาการท่องเที่ยวลง ทั้งนี้อินเทอร์เน็ตช่วยลดเวลาระหว่างการตัดสินใจกับการบริโภค และการทำสารสนเทศ ซึ่งนำไปสู่กลยุทธ์ต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ และลดต้นทุนจากการใช้ระบบอัตโนมัติในการทำธุรกรรม การให้ลูกค้าเป็นผู้ทำธุรกรรม เพื่อการจัดการสินค้าบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า การนำเสนอบริการใหม่ที่เพิ่มคุณภาพให้กับผู้บริโภค การเชื่อมโยงระบบ ไร้สายที่มีอยู่เข้ากับเว็บไซต์เพื่อให้คำแนะนำกับนักท่องเที่ยวระหว่างการเดินทาง รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในบริการและการวางแผน สามารถออกแบบสินค้าและบริการใหม่ โดยการปรับให้เข้ากับความต้องการของลูกค้า และการรวมสินค้าและบริการใหม่ในชุมชนเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  5511600271

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยุทธศาสตร์ การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน


ยุทธศาสตร์ :  การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน

               การเร่งพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนาประเทศสู่สังคมฐานความรู้และนวัตกรรม ทั้งบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Professional)และบุคลากรในสาขาอาชีพต่างๆ รวมถึงเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และประชาชนทุกระดับ ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม วิจารณญาณ และรู้เท่าทัน (Information Literacy) ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคมโดยรวม
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษา ประกอบด้วย
             1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง   มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  มีระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia)  ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์  (Video on Demand)  วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  (Video Teleconference)  และอินเตอร์เน็ต (Internet)  เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
             2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
             3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล
การพัฒนาบุคลากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องพัฒนาผู้ที่กำลังศึกษา เพราะระบบการศึกษาในปัจจุบันพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลง  โดยเห็นได้จากพนักงานของบริษัทต่าง ๆ ต้องใช้เวลารวมถึงค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีการปรับรื้อระบบของบริษัทครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะต้องการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดก่อให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวของธุรกิ0 และวิถีของกลุ่มคนรวมกับวัฒนธรรม จึงต้องสนองตอบความหลากหลายนี้  ขณะที่การศึกษากำลังดำเนินการผลิตคนที่เหมาะสมกับสังคมยุคอุตสาหกรรม หมายถึงทุกอย่างผลิตออกมาเหมือนกันหมดไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงาน   และสร้างคนให้มีพลังสร้างสรรค์ที่จะคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นและมีงานที่ไม่เคยทำมาก่อน ดังนั้นระบบการศึกษาซึ่งมีหน้าที่เตรียมคนสำหรับงานในอนาคตจะต้องเป็นภาระที่นักการศึกษา บริษัท ห้างร้าน และสังคมต้องร่วมมือกันปฏิรูปขึ้นมาใหม่
นอกจากผู้ที่ทำการเรียนการสอนทางด้านของ ICT แล้ว ควรมีการต่อยอดไปในสาขาอาชีพอื่นๆตลอดจนผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ให้มีความสามารถในการใช้สารสนเทศอย่างสร้างสรรค์  มีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน