วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

งานประจำสัปดาห์ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

งานประจำสัปดาห์ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


๑. ให้นักศึกษาหาหน่วยงานหรือองค์กรที่นำ KM ไปประโยชน์ใช้ในการจัดการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวิจารณ์ว่าดีในประเด็นใดบ้าง และนำ IT ไปใช้อย่างไรบ้าง

การจัดการความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
            การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ  (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงานและพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง  แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือสร้างประโยชน์จากความรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร รวมทั้งเป็นแบบอย่างต่อหน่วยงานอื่น อันจะยังประโยชน์ใน วงวิชาการและงานการศึกษาต่อไป
           สถานศึกษาเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา  โดยเฉพาะสถานศึกษาระดับวิทยาลัยพยาบาล  เนื่องจากมีหน้าที่จัด การเรียนการสอนด้านสุขภาพ  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและครูพยาบาล  เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน คุณภาพการศึกษา   จะต่ำหรือสูง จึงขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูเป็นสำคัญ   โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ของครูจะต้องอาศัยความรู้และกระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการความรู้  ซึ่งจะต้องดำเนินงานร่วมกับนักศึกษา ผู้บริหาร และชุมชน ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้นำ ผู้ร่วมมือ ดังนั้น บทบาทในการจัดการความรู้ของครูจึงอาจกล่าวได้ดังนี้
         
          1.  การจัดการความรู้ของตนเอง เป็นการจัดการความรู้ในระดับบุคคล ในฐานะผู้นำในการจัดการเรียนการสอนและทำงานร่วมกับผู้เรียน ครูผู้อื่นในสถานศึกษา ผู้บริหาร และชุมชน
          2.  การจัดการความรู้ในชั้นเรียน เป็นการจัดการความรู้ร่วมกับผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเป็นผู้นำ ผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
          3.  การจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาล   เป็นการจัดการความรู้ระดับองค์กร โดยร่วมมือกับผู้บริหารวิทยาลัย คณะครู และนักศึกษา เพื่อให้วิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
          4.  การจัดการความรู้ในชุมชน เนื่องจากวิทยาลัยพยาบาลเป็นส่วนสำคัญของชุมชนมีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาด้านสุขภาพเพื่อสนองความต้องการของชุมชน   รวมทั้งมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนครูจึงมีบทบาทร่วมกับวิทยาลัยในการจัดการความรู้ในชุมชน
           เมื่อครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความจำเป็นจะต้องเป็นครูจัดการความรู้ในระดับต่าง ๆ  ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้สูงขึ้น  ซึ่งมีเทคนิคสามารถกระทำได้ ดังนี้
           1. ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย  ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับวิทยาลัยและบุคคลอื่นในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน                
          2. ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้  โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนร่วมงานโดยการยอมรับในความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน
          3. ขั้นการสร้างความรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้  นวัตกรรมของสถานศึกษา  เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เช่น การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
          4. ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถาน
ศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู     จัดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้ง ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ เผยแพร่ในวารสารของสภาวิชาชีพ การแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง Internetเป็นต้น
          5. ขั้นการเก็บความรู้ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบ Websiteวีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง และคอมพิวเตอร์เป็นต้น รวมทั้ง ครูจะต้องจัดทำแฟ้มพัฒนางาน จัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการสร้าง และการแลกเปลี่ยนความรู้
          6. ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยการนำเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา หรือการประชุมเสนอผลงานเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เว็บไซด์ จดหมายข่าว เป็นต้น
         
           เทคนิคดังกล่าวข้างต้น ถ้าครูกระทำอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดทักษะและความชำนาญในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (learning worker)ในที่สุด
              การพัฒนาการจัดการความรู้ของครู  อาจดำเนินการได้หลายลักษณะ  รวมทั้งการตรวจสอบจาก    ตัวบ่งชี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของครูให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาของ ดร.วิลาวัลย์ มาคุ้ม โดยได้พัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทราบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูมีดังนี้
           1. องค์ประกอบด้านการกำหนดความรู้ มีตัวชี้วัดสำคัญได้แก่ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  และผู้บริหารสนับสนุนให้ครูได้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ
          2. องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ครูตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ และครูได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาในการแสวงหาความรู้ร่วมกัน
          3.  องค์ประกอบด้านการสร้างความรู้ มีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ สถานศึกษามีหน่วยงานหรือ
บุคลากรรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การอบรม การสาธิต การวิจัยในชั้นเรียน การระดมความเห็น การสนทนา เป็นต้น และ ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูมีการสร้างความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
          4.  องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ  ได้แก่ บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับภายในสถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์และความรู้สึกและบรรยากาศการทำงานภายในสถานศึกษามีลักษณะเป็นเพื่อนร่วมงานมากกว่าการเคารพเชื่อฟัง
          5.  องค์ประกอบด้านการเก็บความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการเก็บความรู้ของสถานศึกษาและครูมีความสามารถในการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ในแฟ้มพัฒนางาน ตำราเรียน การลงในวารสาร และจดหมายข่าว เป็นต้น
          6.  องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ครูสามารถนำความรู้ความสามารถของตนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสถานศึกษาจัดให้ครูที่มีความรู้และทักษะเป็นการเฉพาะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
           อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้ของครูภายในสถานศึกษาเกิดจากการผสมผสานการทำงานของปัจจัยที่สำคัญ คือ
           1. ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสามารถและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการความรู้   โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้พัฒนาตนเองและเอื้ออำนวยให้บุคลากรภายในวิทยาลัยพัฒนาพร้อมกันไปด้วย
          2. กระบวนการจัดการความรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินงานอย่างเหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
          3.  เทคโนโลยีสารสนเทศ    วิทยาลัยต้องให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพรองรับการจัดการ ความรู้ได้อย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้ใช้ระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง
          4. การบริหารจัดการวิทยาลัย ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยโดยมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้ง มีการจูงใจที่เหมาะสม

          การจัดการความรู้เป็นภารกิจของครูที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของครูเอง ในชั้นเรียน วิทยาลัยฯและชุมชน เพื่อให้การทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และการจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯบรรลุเป้าหมาย
          การจัดการความรู้จึงเป็นการใส่ใจเรื่องความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์หรือในระบบเป้าหมายของการจัดการความรู้นอกจากเรียนรู้จากความรู้เผยตัวแล้ว  ยังเอื้ออำนวยในการเปลี่ยนรูปแปลงโฉมความรู้ฝังตัวไปเป็นความรู้เผยตัวสามารถเข้าถึงได้และยังสามารถนำมาแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และการจัดการความรู้ในวิทยาลัย เป็นการบริหารการจัดการเรียนการสอนให้มีการต่อยอดความรู้เป็นการเก็บรวบรวมประสบการณ์  ความเข้าใจรวมทั้งสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ มีกระบวนการเชื่อมแหล่งความรู้และถ่ายทอดความรู้ โดยมีการวางแผน ซึ่งการวางแผนความรู้ (Knowledge Planning)  เป็นการมองไปข้างหน้าถึงการใช้แหล่งความรู้การใช้โมเดลจัดวิธีการจัดการเรียนการสอน เทคนิคต่างๆ ให้การจัดการความรู้มีประสิทธิผลกำหนดการจัดการเรียนการสอน หรือการพัฒนาที่ใช้ความรู้เป็นฐานที่จะสนับสนุนครูผู้สอนหรือวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยวิทยาลัย  ในการแข่งขัน มีความสามารถที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกโรงเรียน
         ในการจัดการความรู้นั้นแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้
         1. การวิเคราะห์ การพิจารณาว่าวิทยาลัยฯ  ขาดความรู้ในเรื่องใด และต้องการความรู้ประเภทใด จะเพิ่มความรู้ความชำนาญของครูโดยความรู้ชนิดใด วิเคราะห์ความมีประโยชน์ความเหมาะสมที่จะใช้ในวิทยาลัย เข้าใจปัญหา โอกาส ยุทธศาสตร์ ทางแก้ การวิเคราะห์ความรู้เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้ ทำให้รู้ว่าจะจัดหาความรู้ และจะนำความรู้ไปใช้อย่างไรให้เหมาะสม
         2. การจัดหาความรู้ การได้ความรู้มามี 2 ทางคือ ทางหนึ่งเป็นการเก็บรวบรวมความรู้ทั้งจากแหล่งความรู้ ภายในและภายนอก ทั้งจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์และบุคคล ทางที่สองคือการสร้างสรรค์ความรู้ในวิทยาลัย เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติ วิธีการทำงาน   ใช้การวิจัย
         3. การเก็บรักษา เป้าหมายคือ ทำความรู้ให้คงอยู่ เข้าถึงได้สะดวก และสะดวกในการนำออกมาใช้
         4. การนำไปใช้ เป็นไปเพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความสามารถในการแข่งขันในสังคมโลกและอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข โดยใช้เวลาน้อยที่สุดในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะทั้งในการเตรียมตัวเตรียมสาระการเรียนรู้  กระบวนการเรียนรู้ที่ย่นเวลาโดยการส่งมอบการเรียนรู้ที่เต็มคุณภาพ
           กิจกรรมต่อไปนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
          1.  การดึงความรู้ออกมาจาก ครูต้นแบบและกระจายความรู้ให้แก่ครูคนอื่น
          2.  จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพการศึกษา โดยอาจเป็นการประชุมตามปกติ หรือผ่านการสื่อสารทางไกลรูปแบบต่างๆ
          3.  จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนรวมกัน โดยมีการผลัดกันทำหน้าที่ผู้จัดการความรู้
          4.  ค้นหา และส่งเสริมครูผู้สอนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอนนักเรียนและหาทางส่งเสริมให้อยู่ในสถานศึกษาด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
          5.   พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  และกิจกรรม เพื่อพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาครูแต่ละคนในสถานศึกษา
          6.  ส่งเสริม ยกย่องให้รางวัลแก่ครูผู้สอนที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือการสอนงานครูรุ่นน้อง
          7.  จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้  และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการสอนให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น
          8.  การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอน(Coaching)  หรือการจัดเป็นทีมผู้สอนทีการร่วมคิดร่วมทำงาน โดยการวางแผนการสอนเป็นทีม และใช้วิธีการประชุมแบบระดมสมอง
          9.  การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยนำความรู้ Tacit  Knowledge  ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ และการเขียนรายงานเพื่อนำเสนอหรือเสนอโดยสื่อ electronicและทางที่ดีควรนำความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัย เพื่อนำเสนอ วิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความเหมือนหรือต่างกับทฤษฎี หรือหลักการที่เป็นความรู้ประเภท  Explicit  Knowledge  การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติโดยใช้วงจรการจัดการความรู้
          ในการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนที่พึงประสงค์(Educational Outcomes)  คือผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร และพันธกิจของสถานศึกษานั้น วงจรข้อมูลสาสนเทศและความรู้ (The Data-Information-Knowledge Continueus)  ซึ่งเป็นวงจรที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน และจะเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรและพันธกิจของสถานศึกษานับเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


สามารถนำ IT ไปใช้อย่างไร
           วงจรการจัดการความรู้ (
The Knowledge Management Continueus)
           ข้อมูล(Data) เป็นการขยายฐานของข้อเท็จจริง (Facts) หรือการวัดเชิงปริมาณเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถวัดได้ในสถานศึกษา ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศ (Information) เมื่อถูกนำมาจัดกระทำให้เป็นระบบโดยผ่านการตีความ(Interpretation)  แปลความเช่นการรายงานผล(Reports) และการจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสารสนเทศของสถานศึกษาอื่นที่สนใจ ส่วนความรู้(Knowledge)  คือความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้ครูผู้สอน/ผู้บริหารสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ  และใช้ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตัวเขาให้เป็นประโยชน์ จะเป็นทั้งความรู้ในตัวคน เช่น ความรู้ที่เกิดจากการกระทำ และเกิดจากประสบการณ์การสอนนักเรียน สรุปได้ว่าความรู้จึงสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆได้โดยการแลกเปลี่ยนกันในเวทีการแลกเปลี่ยน และในสภาวะที่เหมาะสม
          ดังนั้น วงจรของข้อมูล-สารสนเทศ-ความรู้ จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการความรู้วงจรนี้และจะเป็นประโยชน์ในการประเมินว่าสถานศึกษาดำเนินการจัดการความรู้ได้ดีเพียงใด  ทั้งนี้เพราะในการตัดสินใจผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลที่มีประโยชน์เพียงพอต่อการตัดสินใจและข้อมูลที่จะนำมา ใช้ จะต้องอาศัยเทคโนโลยีในการจัดเก็บ  ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันเวลา ทันสมัย รวดเร็ว เพื่อการตัดสินใจในเรื่องโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน (Academic Programmer)  ให้ทันสมัยอยู่ตลอด เวลา ส่วนสารสนเทศ (Information)  เรื่องของสารสนเทศนั้นจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถานศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์(Available) มาแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่านกระบวนการตีความ (Interpretation)  และการนำเสนอ(Presentation)  หรือไม่  เป็นสารสนเทศที่สำคัญและเหมาะสมกับสถานการณ์ของบริบทของสถานศึกษา ณ เวลานั้นหรือไม่ รวมทั้งเป็นสารสนเทศที่สามารถให้บริการกับผู้ที่สนใจ สามารถขอใช้บริการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาหรือไม่ ส่วนความรู้(Knowledge) ตามความหมายของการจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการที่จะมีวิธีการใดที่บุคลากร ครู ผู้สอนในสถานศึกษามาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งใน website  หรือการประชุม โดยมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์  แปลความหมายหรือตีความ (Interpretation)  ขณะเดียวกันก็จะต้องมีความรู้จากตำรา เอกสารมาตรวจสอบ หรือพิสูจน์ เพื่อตรวจสอบและทำความเข้าใจว่า ความรู้ที่ได้รับถูกต้องหรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการลงมือปฏิบัติ
ดังนั้นการจัดการความรู้ส่งผลให้ ผลสัมฤทธิ์ของการทำงานจากการจัดความรู้จะทำให้เกิดผลสำเร็จของงานในระดับดีมาก ขึ้นไปถึงขั้นน่าภาคภูมิใจ หรือในระดับนวัตกรรม   พนักงาน เกิดการพัฒนา การเรียนรู้ เกิดความมั่นใจตนเอง เกิดความเป็นชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงานและกลายเป็นบุคคลเรียนรู้คือ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน   ความรู้ของบุคคล  และขององค์กรได้รับการยกระดับ มีการสั่งสมและจัดระบบให้ พร้อมใช้”  และองค์กรหรือหน่วยงาน  มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

http://www.pckpb.ac.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=117:2012-07-24-17-34-44&catid=42:2012-07-19-08-27-43&Itemid=188
       

 ๒. จากรูปภาพในหน้าที่ผ่านมา นักศึกษาคิดว่าน่าจะมีตัว S อีกกี่ตัวอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ KM

            7 S-Model หรือ 7 S-System ที่ใช้ในการจัดการความรู้ พัฒนาขึ้นโดย McKinsey Management Consultants ประกอบไปด้วย
            1. Strategy
            2. Systems
            3. Style of leadership
            4. Staff
            5. Skills
            6. Structure
            7. Shared values
           นอกเหนือจาก 7 S-Model เรายังพบองค์ประกอบ S อื่นๆ ในเอกสารการบรรยายของ ผศ.ดร.มนูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้กล่าวถึง Survey, Sample, Save, Select, Show, Search, Service, Summary ซึ่งความหมายของ S ต่างๆ ทั้งหมดข้างต้นนั้นจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอนำเสนอว่า ยังจะมี S ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้เพิ่มเติม
             Sake – ในการจัดการองค์ความรู้ บุคคลในหน่วยงานหรือองค์กรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับในองค์กรของตน
             Serviceabilityในการจัดการองค์ความรู้ ถ้าองค์กรนำ IT เข้าไปเกี่ยวข้อง ความสามารถทางด้านการบริการ  และสามารถใช้งานจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างดีเยี่ยม

              Supportในการจัดการองค์ความรู้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีบริหารระดับสูงจนถึงบุคลากรภายในองค์กรทุกคน