วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

งานประจำสัปดาห์ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

งานประจำสัปดาห์ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


๑. ให้นักศึกษาหาหน่วยงานหรือองค์กรที่นำ KM ไปประโยชน์ใช้ในการจัดการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวิจารณ์ว่าดีในประเด็นใดบ้าง และนำ IT ไปใช้อย่างไรบ้าง

การจัดการความรู้ในวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
            การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) หมายถึง การรวบรวมความรู้สู่การปฏิบัติ  (Tacit Knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจาก การเรียนรู้ เจตคติในงาน ประสบการณ์การทำงานและพฤติกรรมการทำงานของแต่ละบุคคล ซึ่งปฏิบัติงานเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง  แล้วประชุมหรือสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เมื่อรวบรวมแล้วก็มีการนำความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์ วิเคราะห์ (Analysis) หรือจัดระบบใหม่ เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ ยอมรับข้อดีและจุดที่เป็นปัญหาของกันและกัน มีการจัดเก็บข้อสรุปทั้งมวลอย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่การยอมรับในกฎกติกาขององค์กรที่ทุกคนยอมรับ แล้วนำมาเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือสร้างประโยชน์จากความรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร รวมทั้งเป็นแบบอย่างต่อหน่วยงานอื่น อันจะยังประโยชน์ใน วงวิชาการและงานการศึกษาต่อไป
           สถานศึกษาเป็นหน่วยสำคัญที่สุดในการจัดการศึกษา  โดยเฉพาะสถานศึกษาระดับวิทยาลัยพยาบาล  เนื่องจากมีหน้าที่จัด การเรียนการสอนด้านสุขภาพ  เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาและครูพยาบาล  เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงาน คุณภาพการศึกษา   จะต่ำหรือสูง จึงขึ้นอยู่กับผู้บริหารและครูเป็นสำคัญ   โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้ของครูจะต้องอาศัยความรู้และกระบวนการที่เหมาะสมในการจัดการความรู้  ซึ่งจะต้องดำเนินงานร่วมกับนักศึกษา ผู้บริหาร และชุมชน ทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติ ผู้นำ ผู้ร่วมมือ ดังนั้น บทบาทในการจัดการความรู้ของครูจึงอาจกล่าวได้ดังนี้
         
          1.  การจัดการความรู้ของตนเอง เป็นการจัดการความรู้ในระดับบุคคล ในฐานะผู้นำในการจัดการเรียนการสอนและทำงานร่วมกับผู้เรียน ครูผู้อื่นในสถานศึกษา ผู้บริหาร และชุมชน
          2.  การจัดการความรู้ในชั้นเรียน เป็นการจัดการความรู้ร่วมกับผู้เรียนในชั้นเรียน โดยเป็นผู้นำ ผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
          3.  การจัดการความรู้ของวิทยาลัยพยาบาล   เป็นการจัดการความรู้ระดับองค์กร โดยร่วมมือกับผู้บริหารวิทยาลัย คณะครู และนักศึกษา เพื่อให้วิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
          4.  การจัดการความรู้ในชุมชน เนื่องจากวิทยาลัยพยาบาลเป็นส่วนสำคัญของชุมชนมีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาด้านสุขภาพเพื่อสนองความต้องการของชุมชน   รวมทั้งมีบทบาทในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนครูจึงมีบทบาทร่วมกับวิทยาลัยในการจัดการความรู้ในชุมชน
           เมื่อครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญและมีความจำเป็นจะต้องเป็นครูจัดการความรู้ในระดับต่าง ๆ  ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความสามารถและทักษะในการจัดการความรู้สูงขึ้น  ซึ่งมีเทคนิคสามารถกระทำได้ ดังนี้
           1. ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัย  ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับวิทยาลัยและบุคคลอื่นในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน                
          2. ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้  โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อนร่วมงานโดยการยอมรับในความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน
          3. ขั้นการสร้างความรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้  นวัตกรรมของสถานศึกษา  เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เช่น การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
          4. ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูจะต้องเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถาน
ศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู     จัดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้ง ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่น ๆ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ เผยแพร่ในวารสารของสภาวิชาชีพ การแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทาง Internetเป็นต้น
          5. ขั้นการเก็บความรู้ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบ Websiteวีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง และคอมพิวเตอร์เป็นต้น รวมทั้ง ครูจะต้องจัดทำแฟ้มพัฒนางาน จัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการสร้าง และการแลกเปลี่ยนความรู้
          6. ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยการนำเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา หรือการประชุมเสนอผลงานเป็นการเฉพาะ รวมทั้ง มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เว็บไซด์ จดหมายข่าว เป็นต้น
         
           เทคนิคดังกล่าวข้างต้น ถ้าครูกระทำอยู่เป็นประจำอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้เกิดทักษะและความชำนาญในการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (learning worker)ในที่สุด
              การพัฒนาการจัดการความรู้ของครู  อาจดำเนินการได้หลายลักษณะ  รวมทั้งการตรวจสอบจาก    ตัวบ่งชี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาความสามารถในการจัดการความรู้ของครูให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาของ ดร.วิลาวัลย์ มาคุ้ม โดยได้พัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทราบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูมีดังนี้
           1. องค์ประกอบด้านการกำหนดความรู้ มีตัวชี้วัดสำคัญได้แก่ ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน  และผู้บริหารสนับสนุนให้ครูได้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ
          2. องค์ประกอบด้านการแสวงหาความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ครูตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเพิ่มพูนประสบการณ์การเรียนรู้ และครูได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาในการแสวงหาความรู้ร่วมกัน
          3.  องค์ประกอบด้านการสร้างความรู้ มีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ สถานศึกษามีหน่วยงานหรือ
บุคลากรรับผิดชอบในการจัดกิจกรรมสร้างความรู้ เช่น การจัดประชุมสัมมนา การอบรม การสาธิต การวิจัยในชั้นเรียน การระดมความเห็น การสนทนา เป็นต้น และ ผู้บริหารสนับสนุนให้ครูมีการสร้างความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน
          4.  องค์ประกอบด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ  ได้แก่ บรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกับภายในสถานศึกษาตั้งอยู่บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลมากกว่าการใช้อารมณ์และความรู้สึกและบรรยากาศการทำงานภายในสถานศึกษามีลักษณะเป็นเพื่อนร่วมงานมากกว่าการเคารพเชื่อฟัง
          5.  องค์ประกอบด้านการเก็บความรู้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญและเป็นผู้นำในการเก็บความรู้ของสถานศึกษาและครูมีความสามารถในการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น ในแฟ้มพัฒนางาน ตำราเรียน การลงในวารสาร และจดหมายข่าว เป็นต้น
          6.  องค์ประกอบด้านการนำความรู้ไปใช้ มีตัวบ่งชี้สำคัญ ได้แก่ ครูสามารถนำความรู้ความสามารถของตนไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และสถานศึกษาจัดให้ครูที่มีความรู้และทักษะเป็นการเฉพาะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้
           อย่างไรก็ตาม การจัดการความรู้ของครูภายในสถานศึกษาเกิดจากการผสมผสานการทำงานของปัจจัยที่สำคัญ คือ
           1. ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษา จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในความสามารถและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการจัดการความรู้   โดยเฉพาะผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้พัฒนาตนเองและเอื้ออำนวยให้บุคลากรภายในวิทยาลัยพัฒนาพร้อมกันไปด้วย
          2. กระบวนการจัดการความรู้ โดยมีขั้นตอนดำเนินงานอย่างเหมาะสม บุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียนมีความเข้าใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง
          3.  เทคโนโลยีสารสนเทศ    วิทยาลัยต้องให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพรองรับการจัดการ ความรู้ได้อย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ครูทุกคนได้ใช้ระบบสารสนเทศอย่างทั่วถึง
          4. การบริหารจัดการวิทยาลัย ต้องจัดระบบบริหารจัดการที่เอื้ออำนวยโดยมีการกระจายอำนาจและให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม รวมทั้ง มีการจูงใจที่เหมาะสม

          การจัดการความรู้เป็นภารกิจของครูที่จะต้องดำเนินการให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของครูเอง ในชั้นเรียน วิทยาลัยฯและชุมชน เพื่อให้การทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ และการจัดการศึกษาของวิทยาลัยฯบรรลุเป้าหมาย
          การจัดการความรู้จึงเป็นการใส่ใจเรื่องความรู้ที่จะใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์หรือในระบบเป้าหมายของการจัดการความรู้นอกจากเรียนรู้จากความรู้เผยตัวแล้ว  ยังเอื้ออำนวยในการเปลี่ยนรูปแปลงโฉมความรู้ฝังตัวไปเป็นความรู้เผยตัวสามารถเข้าถึงได้และยังสามารถนำมาแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และการจัดการความรู้ในวิทยาลัย เป็นการบริหารการจัดการเรียนการสอนให้มีการต่อยอดความรู้เป็นการเก็บรวบรวมประสบการณ์  ความเข้าใจรวมทั้งสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นมาใหม่ มีกระบวนการเชื่อมแหล่งความรู้และถ่ายทอดความรู้ โดยมีการวางแผน ซึ่งการวางแผนความรู้ (Knowledge Planning)  เป็นการมองไปข้างหน้าถึงการใช้แหล่งความรู้การใช้โมเดลจัดวิธีการจัดการเรียนการสอน เทคนิคต่างๆ ให้การจัดการความรู้มีประสิทธิผลกำหนดการจัดการเรียนการสอน หรือการพัฒนาที่ใช้ความรู้เป็นฐานที่จะสนับสนุนครูผู้สอนหรือวิธีการอื่นๆ ที่จะช่วยวิทยาลัย  ในการแข่งขัน มีความสามารถที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมภายนอกโรงเรียน
         ในการจัดการความรู้นั้นแบ่งขั้นตอนได้ดังนี้
         1. การวิเคราะห์ การพิจารณาว่าวิทยาลัยฯ  ขาดความรู้ในเรื่องใด และต้องการความรู้ประเภทใด จะเพิ่มความรู้ความชำนาญของครูโดยความรู้ชนิดใด วิเคราะห์ความมีประโยชน์ความเหมาะสมที่จะใช้ในวิทยาลัย เข้าใจปัญหา โอกาส ยุทธศาสตร์ ทางแก้ การวิเคราะห์ความรู้เป็นขั้นตอนที่สำคัญต่อความสามารถในการจัดการความรู้ ทำให้รู้ว่าจะจัดหาความรู้ และจะนำความรู้ไปใช้อย่างไรให้เหมาะสม
         2. การจัดหาความรู้ การได้ความรู้มามี 2 ทางคือ ทางหนึ่งเป็นการเก็บรวบรวมความรู้ทั้งจากแหล่งความรู้ ภายในและภายนอก ทั้งจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์และบุคคล ทางที่สองคือการสร้างสรรค์ความรู้ในวิทยาลัย เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติ วิธีการทำงาน   ใช้การวิจัย
         3. การเก็บรักษา เป้าหมายคือ ทำความรู้ให้คงอยู่ เข้าถึงได้สะดวก และสะดวกในการนำออกมาใช้
         4. การนำไปใช้ เป็นไปเพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์มีความสามารถในการแข่งขันในสังคมโลกและอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข โดยใช้เวลาน้อยที่สุดในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะทั้งในการเตรียมตัวเตรียมสาระการเรียนรู้  กระบวนการเรียนรู้ที่ย่นเวลาโดยการส่งมอบการเรียนรู้ที่เต็มคุณภาพ
           กิจกรรมต่อไปนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในสถานศึกษา
          1.  การดึงความรู้ออกมาจาก ครูต้นแบบและกระจายความรู้ให้แก่ครูคนอื่น
          2.  จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน/คุณภาพการศึกษา โดยอาจเป็นการประชุมตามปกติ หรือผ่านการสื่อสารทางไกลรูปแบบต่างๆ
          3.  จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนรวมกัน โดยมีการผลัดกันทำหน้าที่ผู้จัดการความรู้
          4.  ค้นหา และส่งเสริมครูผู้สอนผู้ที่มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอนนักเรียนและหาทางส่งเสริมให้อยู่ในสถานศึกษาด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
          5.   พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม  และกิจกรรม เพื่อพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาครูแต่ละคนในสถานศึกษา
          6.  ส่งเสริม ยกย่องให้รางวัลแก่ครูผู้สอนที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือการสอนงานครูรุ่นน้อง
          7.  จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้  และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการสอนให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น
          8.  การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอน(Coaching)  หรือการจัดเป็นทีมผู้สอนทีการร่วมคิดร่วมทำงาน โดยการวางแผนการสอนเป็นทีม และใช้วิธีการประชุมแบบระดมสมอง
          9.  การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน (Tacit  Knowledge)  โดยนำความรู้ Tacit  Knowledge  ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ และการเขียนรายงานเพื่อนำเสนอหรือเสนอโดยสื่อ electronicและทางที่ดีควรนำความรู้ที่ฝังลึกในตัวคนไปเปรียบเทียบกับผลการวิจัย เพื่อนำเสนอ วิเคราะห์เพื่อการตรวจสอบความเหมือนหรือต่างกับทฤษฎี หรือหลักการที่เป็นความรู้ประเภท  Explicit  Knowledge  การจัดการความรู้สู่การปฏิบัติโดยใช้วงจรการจัดการความรู้
          ในการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ  เพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนที่พึงประสงค์(Educational Outcomes)  คือผู้เรียนมีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตร และพันธกิจของสถานศึกษานั้น วงจรข้อมูลสาสนเทศและความรู้ (The Data-Information-Knowledge Continueus)  ซึ่งเป็นวงจรที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน และจะเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเป้าหมายของหลักสูตรและพันธกิจของสถานศึกษานับเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


สามารถนำ IT ไปใช้อย่างไร
           วงจรการจัดการความรู้ (
The Knowledge Management Continueus)
           ข้อมูล(Data) เป็นการขยายฐานของข้อเท็จจริง (Facts) หรือการวัดเชิงปริมาณเกี่ยวกับสิ่งที่สามารถวัดได้ในสถานศึกษา ข้อมูลจะกลายเป็นสารสนเทศ (Information) เมื่อถูกนำมาจัดกระทำให้เป็นระบบโดยผ่านการตีความ(Interpretation)  แปลความเช่นการรายงานผล(Reports) และการจัดทำเป็นเอกสารสารสนเทศ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ที่สามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับสารสนเทศของสถานศึกษาอื่นที่สนใจ ส่วนความรู้(Knowledge)  คือความเข้าใจที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้ครูผู้สอน/ผู้บริหารสามารถมีปฏิกิริยาโต้ตอบ  และใช้ความรู้ที่มีคุณค่าต่อตัวเขาให้เป็นประโยชน์ จะเป็นทั้งความรู้ในตัวคน เช่น ความรู้ที่เกิดจากการกระทำ และเกิดจากประสบการณ์การสอนนักเรียน สรุปได้ว่าความรู้จึงสามารถนำไปแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆได้โดยการแลกเปลี่ยนกันในเวทีการแลกเปลี่ยน และในสภาวะที่เหมาะสม
          ดังนั้น วงจรของข้อมูล-สารสนเทศ-ความรู้ จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการความรู้วงจรนี้และจะเป็นประโยชน์ในการประเมินว่าสถานศึกษาดำเนินการจัดการความรู้ได้ดีเพียงใด  ทั้งนี้เพราะในการตัดสินใจผู้บริหารจะต้องมีข้อมูลที่มีประโยชน์เพียงพอต่อการตัดสินใจและข้อมูลที่จะนำมา ใช้ จะต้องอาศัยเทคโนโลยีในการจัดเก็บ  ให้สามารถนำมาใช้ได้อย่างทันเวลา ทันสมัย รวดเร็ว เพื่อการตัดสินใจในเรื่องโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน (Academic Programmer)  ให้ทันสมัยอยู่ตลอด เวลา ส่วนสารสนเทศ (Information)  เรื่องของสารสนเทศนั้นจะมีคำถามอยู่เสมอว่า สถานศึกษาได้มีการนำข้อมูลที่จำเป็นและเป็นประโยชน์(Available) มาแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่านกระบวนการตีความ (Interpretation)  และการนำเสนอ(Presentation)  หรือไม่  เป็นสารสนเทศที่สำคัญและเหมาะสมกับสถานการณ์ของบริบทของสถานศึกษา ณ เวลานั้นหรือไม่ รวมทั้งเป็นสารสนเทศที่สามารถให้บริการกับผู้ที่สนใจ สามารถขอใช้บริการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ทางการศึกษาหรือไม่ ส่วนความรู้(Knowledge) ตามความหมายของการจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการที่จะมีวิธีการใดที่บุคลากร ครู ผู้สอนในสถานศึกษามาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งใน website  หรือการประชุม โดยมีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์  แปลความหมายหรือตีความ (Interpretation)  ขณะเดียวกันก็จะต้องมีความรู้จากตำรา เอกสารมาตรวจสอบ หรือพิสูจน์ เพื่อตรวจสอบและทำความเข้าใจว่า ความรู้ที่ได้รับถูกต้องหรือไม่ เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจหรือการลงมือปฏิบัติ
ดังนั้นการจัดการความรู้ส่งผลให้ ผลสัมฤทธิ์ของการทำงานจากการจัดความรู้จะทำให้เกิดผลสำเร็จของงานในระดับดีมาก ขึ้นไปถึงขั้นน่าภาคภูมิใจ หรือในระดับนวัตกรรม   พนักงาน เกิดการพัฒนา การเรียนรู้ เกิดความมั่นใจตนเอง เกิดความเป็นชุมชนในหมู่ผู้ร่วมงานและกลายเป็นบุคคลเรียนรู้คือ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน   ความรู้ของบุคคล  และขององค์กรได้รับการยกระดับ มีการสั่งสมและจัดระบบให้ พร้อมใช้”  และองค์กรหรือหน่วยงาน  มีสภาพเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

http://www.pckpb.ac.th/main/index.php?option=com_content&view=article&id=117:2012-07-24-17-34-44&catid=42:2012-07-19-08-27-43&Itemid=188
       

 ๒. จากรูปภาพในหน้าที่ผ่านมา นักศึกษาคิดว่าน่าจะมีตัว S อีกกี่ตัวอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ KM

            7 S-Model หรือ 7 S-System ที่ใช้ในการจัดการความรู้ พัฒนาขึ้นโดย McKinsey Management Consultants ประกอบไปด้วย
            1. Strategy
            2. Systems
            3. Style of leadership
            4. Staff
            5. Skills
            6. Structure
            7. Shared values
           นอกเหนือจาก 7 S-Model เรายังพบองค์ประกอบ S อื่นๆ ในเอกสารการบรรยายของ ผศ.ดร.มนูญพงศ์ ศรีวิรัตน์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ได้กล่าวถึง Survey, Sample, Save, Select, Show, Search, Service, Summary ซึ่งความหมายของ S ต่างๆ ทั้งหมดข้างต้นนั้นจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ แต่จะขอนำเสนอว่า ยังจะมี S ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้เพิ่มเติม
             Sake – ในการจัดการองค์ความรู้ บุคคลในหน่วยงานหรือองค์กรจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับในองค์กรของตน
             Serviceabilityในการจัดการองค์ความรู้ ถ้าองค์กรนำ IT เข้าไปเกี่ยวข้อง ความสามารถทางด้านการบริการ  และสามารถใช้งานจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการได้อย่างดีเยี่ยม

              Supportในการจัดการองค์ความรู้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีบริหารระดับสูงจนถึงบุคลากรภายในองค์กรทุกคน

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ให้อธิบายและเหตุผลประกอบ พร้อมยกตัวอย่าง 

      
     ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน

ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?
    ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือเป็นกลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
    สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลโดยรวบรวมและสังเคราะห์เอาเฉพาะข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ
    ความรู้ (Knowledge) เป็นผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิด เสียใหม่ให้เป็น “ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง”
    ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) เป็น การนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ
    เชาวน์ปัญญา (Intelligence) เป็นผลจากการปรุงแต่งและจดจำความรู้และใช้ความเฉลียวฉลาดต่าง ๆในสมอง ทำให้เกิดความคิดที่รวดเร็วและฉับไว สามารถใช้ความรู้และความเฉลียวฉลาดโดยใช้ช่วงเวลาสั้นกว่า หากนำเอามาจัดลำดับเป็นขั้นตอนของการเรียนรู้สำหรับมนุษย์แต่ละบุคคลจะได้ดังนี้

ประเภทของความรู้มีอะไรบ้าง
1. ความรู้ในตัวของมนุษย์หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) หมายถึง ความรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากประสบการณ์ การศึกษา การสนทนา การฝึกอบรม เจตคติของแต่ละบุคคล เป็นความรู้บวกกับสติปัญญาและประสบการณ์
2. ความรู้เชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลออกมาในรูปของการบันทึกตามรูปแบบต่างๆซึ่งเป็นสารสนเทศนั่นเอง
3. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Culture Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งเกิดจากผลสะท้อนกลับของความรู้และสภาพแวดล้อมทั่วไปขององค์กร
ประเภทความรูในตัวคนมีอะไรบ้าง?
 ความรูในตัวคนเป็นความรูที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละบุคคล การที่ความรูจากใครคนหนึ่งจะถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นไดนั้นเป็นเรื่องที่ยากหากเจตัวไมยินยอม ดังนั้นการขอรับการถ่ายทอดความรูจากบุคคลผู้รู้เรื่องเหล่าจะทําไดดังนี้
          1. การสนทนา (Face-to-face Conversation)
2. การนำทีมและฝึกอบรม (Mentoring & Training)
3. อบรมเขมข้น (Coaching)
4. การแนะนำ (Customer Knowledge)
5. การเข้ากลุ่ม (Staff Knowledge)
6. การใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Outside Expert)
7. การสั่งการ (Top Manager / Top Management Support )
8. การเผยแพรสูสาธารณะหรือทุนทางสังคม ( Social Capital) 

ประเภทความรูเชิงประจักษ์มีอะไรบ้าง?
          ความรูเชิงประจักษ์เป็นความรูที่ไดจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ ความรูแบบนี้จะถ่ายทอดจากใครคนหนึ่งไปยังบุคคลอื่นไดโดยไมยากนัก การขอรับการถายทอดความรูเชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจนเหล่านี้ อาจเรียนรูไดจากสื่อดังนี้
          1. ขอมูลข่าวสาร (Transaction Data)
2. รายงาน (Internal Reports, Memos)
3. การจดบันทึก (Record Management)
4. แผนงานและนโยบาย (Plan and Policies)
5.หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
6. หอสมุด (Data Warehouse)
7. ฐานข้อมูล (External / Internal Databases)
8. อีเมล (E-Mail)

ลักษณะความรูจำแนกอย่างไร?
การจำแนกลักษณะของความรูนั้นมีหลายทฤษฎี ในที่นี้จะจำแนกตามระดับการใช้งานของบุคลากรในหน่วยงานใด อะไรที่บุคลากรคือต้องรู อะไรที่ควรรูเพื่อการแขงขันและนําไปสูความเปนเลิศขององคกร แบงได คือ
 1. Core Knowledge เปนความรูในระดับพื้นฐานที่ทุกคนในองคกรตองการหรือต้องรู้
 2. Advanced Knowledge เปนความรูที่ทําใหองคกรไปสูจุดของการแขงขันได เปนความรูที่มีความเฉพาะเจาะจงซึ่งแตกตางจากคูแขงขัน
 3. Innovative Knowledge เปนความรูที่ทําใหองคกรเปนเลิศ สามารถเปนผูนําทางการตลาดไดการจัดการความรูในองคกรทําเพื่ออะไร?
     ปจจุบันสวนใหญในแตละองคกรมีความรูอยู่มากมายแต่ ไมไดมีการบริหารจัดการอย่างเปนระบบทําใหความรูกระจัดกระจาย ยากตอการนํามาใชงาน ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการจัดการความรูขึ้น มีวัตถุประสงค เพื่อ การรวบรวมความรู ที่อยูในองคกรซึ่งกระจัดกระจายอยูในตัวคนหรือเอกสารมาพัฒนาเปนองคความรู และมี การถายทอดและแบงปนความรูอยางเปนระบบเพื่อใหทุกคนในองคกรสามารถ เขาถึงความรู และพัฒนาตนเองใหเปนผูปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ

เปาหมายของการจัดการความรู
          1. พัฒนางานใหมีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
2. พัฒนาคน คือ การพัฒนาผูปฏิบัติงาน
3. พัฒนาฐานความรูขององคกร
การบริหารจัดการความรูทําอยางไรไดบาง?
         1. การจัดการความรูที่ถูกขับเคลื่อนดวยเทคโนโลยีสารสนเทศ
         2. การจัดการความรูที่เกี่ยวของกับความสัมพันธของมนุษยและมิติทางวัฒนธรรม
         3. การจัดการความรูที่เนนความสําคัญของเนื้อหา
กระบวนการจัดการความรูมีขั้นตอนอยางไร?
         1. การบงชี้ความรู
         2. การสรางและแสวงหาความรู
         3. การจัดความรูใหเปนระบบ
         4. การประมวลและกลั่นกรองความรู
         5. การเขาถึงความรู
         6. การแบงปนแลกเปลี่ยนความรู 
องค์กรแห่งการเรียนรู้” ( Learning Organization : LO)
          “องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้  มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1)      ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ
2)      ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่  การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
3)      ทักษะการเรียนรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 
3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 
3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)
2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation)  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  ได้แก่
1)      วิสัยทัศน์ 
2)      วัฒนธรรมองค์การ 
3)      กลยุทธ์ 
4)      โครงสร้าง
3.       สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1)      บุคลากร
2)      ผู้บริหาร / ผู้นำ
3)      ผู้รับบริการ / ลูกค้า
4)      คู่ค้า
5)      พันธมิตร / หุ้นส่วน
6)      ชุมชน
4.       ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย
1)      การแสวงหาความรู้
2)      การสร้างความรู้
3)      การจัดเก็บความรู้
4)      การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์
5.       เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย
1)      เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)      เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้
3)      ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ
5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจแล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน
ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้
           องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ
1.  มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)
2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
3.  มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ
1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I'm my position)
2. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร (The enemy is out there)
3. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The Illustration of  taking change)
4. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)
5. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน (The delusion of learning from experience)
6.  มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)
7. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled frog syndrome)

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ
3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ 
4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน มีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
          5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น
- การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น
- การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
         - เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ เช่น ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ซึ่งสามารถกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสำรวจ การเดินทาง และใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมทางอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth 

 ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ  ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต  ช่วยในการแสวงหาความรู้จากแหล่งใหม่ๆ  ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้  มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ  นอกจากนี้การมีระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   โดยกระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
1.  กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 
              เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร   ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย 7 ดังนี้ 
              1.1  การบ่งชี้ความรู้หรือการค้นหาความรู้ (Knowledge  Identification)  เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมี วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย อะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยจำเป็นต้องรู้ว่า  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือการทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับองค์กร แล้วจัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตของการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
              1.2  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)  จากแผนที่ความรู้ องค์กรจะทราบว่ามีความรู้ที่จำเป็นที่ต้องการมีอยู่หรือไม่ ถ้ามีแล้วองค์กรก็จะต้องหาวิธีการในการดึงความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่อาจอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนนี้ประสบความสาเร็จคือ บรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีส่วนช่วยให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 
              1.3  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยองค์กรต้องจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ 
              1.4  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) องค์กรต้องประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย  ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ 
              1.5  การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) องค์กรต้องมีวิธีการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ สามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 
              1.6  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing) ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อให้บุคลากรได้เลือกใช้วิธีการตามความถนัดและความสะดวก 
              1.7  การเรียนรู้ (Learning) วัตถุประสงค์ที่สาคัญที่สุดในการจัดการความรู้คือการเรียนรู้ของบุคลากรและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะไปเพิ่มพูนความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของงาน 
2.  เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้ 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (Information and Communications Technology)  หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  สำหรับในด้านการจัดการความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้นั้นประกอบด้วย
              2.1 เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตได้
              2.2  เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง เช่น โปรแกรมการทำงานเป็นกลุ่มหรือกรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นซอฟแวร์ที่ทำให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบเครือข่าย มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประชุมร่วมกัน
              2.3  เทคโนโลยีในการจัดเก็บความรู้ (Storage Technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล  เหมืองข้อมูล (Data Mining) ที่เป็นการดึงข้อมูลจากแหล่ง จัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล (Data Warehouse) มารวบรวมและแสดงผลในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้ 
              กล่าวโดยสรุป  กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยเทคโนโลยีจะสนับสนุนกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้  เพื่อให้การดำเนินงานได้ประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้  ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้  การนำเสนอ  การจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้ต่างๆ  รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย

อ้างอิง : คุณกมลรัตน์ วัชรินทร์
             สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.