วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ให้อธิบายและเหตุผลประกอบ พร้อมยกตัวอย่าง 

      
     ความรู้ คือ สารสนเทศที่นำไปสู่การปฏิบัติ เป็นเนื้อหาข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กรอบความคิด หรือข้อมูลอื่นๆ ที่มีความจำเป็น และเป็นกรอบของการผสมผสานระหว่างประสบการณ์ ค่านิยม ความรอบรู้ในบริบท สำหรับการประเมินค่า และการนำเอาประสบการณ์กับสารสนเทศใหม่ ๆ มาผสมรวมเข้าด้วยกัน

ชั้นของความรู้เป็นอย่างไร?
    ข้อมูล (Data) เป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือเป็นกลุ่มของข้อมูลดิบที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
    สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านกระบวนการประมวลผลโดยรวบรวมและสังเคราะห์เอาเฉพาะข้อมูลที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ
    ความรู้ (Knowledge) เป็นผลจากการขัดเกลาและเลือกใช้สารสนเทศ โดยมีการจัดระบบความคิด เสียใหม่ให้เป็น “ความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง”
    ความเฉลียวฉลาด (Wisdom) เป็น การนำเอาความรู้ต่าง ๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อใช้ให้เกิดเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ
    เชาวน์ปัญญา (Intelligence) เป็นผลจากการปรุงแต่งและจดจำความรู้และใช้ความเฉลียวฉลาดต่าง ๆในสมอง ทำให้เกิดความคิดที่รวดเร็วและฉับไว สามารถใช้ความรู้และความเฉลียวฉลาดโดยใช้ช่วงเวลาสั้นกว่า หากนำเอามาจัดลำดับเป็นขั้นตอนของการเรียนรู้สำหรับมนุษย์แต่ละบุคคลจะได้ดังนี้

ประเภทของความรู้มีอะไรบ้าง
1. ความรู้ในตัวของมนุษย์หรือความรู้โดยนัย (Tacit Knowledge) หมายถึง ความรู้เฉพาะตัวที่เกิดจากประสบการณ์ การศึกษา การสนทนา การฝึกอบรม เจตคติของแต่ละบุคคล เป็นความรู้บวกกับสติปัญญาและประสบการณ์
2. ความรู้เชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจน (Explicit Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบุคคลออกมาในรูปของการบันทึกตามรูปแบบต่างๆซึ่งเป็นสารสนเทศนั่นเอง
3. ความรู้ที่เกิดจากวัฒนธรรม (Culture Knowledge) หมายถึง ความรู้ที่เกิดจากความเชื่อ ความศรัทธา ซึ่งเกิดจากผลสะท้อนกลับของความรู้และสภาพแวดล้อมทั่วไปขององค์กร
ประเภทความรูในตัวคนมีอะไรบ้าง?
 ความรูในตัวคนเป็นความรูที่ฝังลึกอยู่ในแต่ละบุคคล การที่ความรูจากใครคนหนึ่งจะถูกถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นไดนั้นเป็นเรื่องที่ยากหากเจตัวไมยินยอม ดังนั้นการขอรับการถ่ายทอดความรูจากบุคคลผู้รู้เรื่องเหล่าจะทําไดดังนี้
          1. การสนทนา (Face-to-face Conversation)
2. การนำทีมและฝึกอบรม (Mentoring & Training)
3. อบรมเขมข้น (Coaching)
4. การแนะนำ (Customer Knowledge)
5. การเข้ากลุ่ม (Staff Knowledge)
6. การใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก (Outside Expert)
7. การสั่งการ (Top Manager / Top Management Support )
8. การเผยแพรสูสาธารณะหรือทุนทางสังคม ( Social Capital) 

ประเภทความรูเชิงประจักษ์มีอะไรบ้าง?
          ความรูเชิงประจักษ์เป็นความรูที่ไดจากสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นๆ ความรูแบบนี้จะถ่ายทอดจากใครคนหนึ่งไปยังบุคคลอื่นไดโดยไมยากนัก การขอรับการถายทอดความรูเชิงประจักษ์ที่ปรากฏชัดเจนเหล่านี้ อาจเรียนรูไดจากสื่อดังนี้
          1. ขอมูลข่าวสาร (Transaction Data)
2. รายงาน (Internal Reports, Memos)
3. การจดบันทึก (Record Management)
4. แผนงานและนโยบาย (Plan and Policies)
5.หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
6. หอสมุด (Data Warehouse)
7. ฐานข้อมูล (External / Internal Databases)
8. อีเมล (E-Mail)

ลักษณะความรูจำแนกอย่างไร?
การจำแนกลักษณะของความรูนั้นมีหลายทฤษฎี ในที่นี้จะจำแนกตามระดับการใช้งานของบุคลากรในหน่วยงานใด อะไรที่บุคลากรคือต้องรู อะไรที่ควรรูเพื่อการแขงขันและนําไปสูความเปนเลิศขององคกร แบงได คือ
 1. Core Knowledge เปนความรูในระดับพื้นฐานที่ทุกคนในองคกรตองการหรือต้องรู้
 2. Advanced Knowledge เปนความรูที่ทําใหองคกรไปสูจุดของการแขงขันได เปนความรูที่มีความเฉพาะเจาะจงซึ่งแตกตางจากคูแขงขัน
 3. Innovative Knowledge เปนความรูที่ทําใหองคกรเปนเลิศ สามารถเปนผูนําทางการตลาดไดการจัดการความรูในองคกรทําเพื่ออะไร?
     ปจจุบันสวนใหญในแตละองคกรมีความรูอยู่มากมายแต่ ไมไดมีการบริหารจัดการอย่างเปนระบบทําใหความรูกระจัดกระจาย ยากตอการนํามาใชงาน ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการจัดการความรูขึ้น มีวัตถุประสงค เพื่อ การรวบรวมความรู ที่อยูในองคกรซึ่งกระจัดกระจายอยูในตัวคนหรือเอกสารมาพัฒนาเปนองคความรู และมี การถายทอดและแบงปนความรูอยางเปนระบบเพื่อใหทุกคนในองคกรสามารถ เขาถึงความรู และพัฒนาตนเองใหเปนผูปฏิบัติงานไดอยางมีประสิทธิภาพ

เปาหมายของการจัดการความรู
          1. พัฒนางานใหมีคุณภาพและผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
2. พัฒนาคน คือ การพัฒนาผูปฏิบัติงาน
3. พัฒนาฐานความรูขององคกร
การบริหารจัดการความรูทําอยางไรไดบาง?
         1. การจัดการความรูที่ถูกขับเคลื่อนดวยเทคโนโลยีสารสนเทศ
         2. การจัดการความรูที่เกี่ยวของกับความสัมพันธของมนุษยและมิติทางวัฒนธรรม
         3. การจัดการความรูที่เนนความสําคัญของเนื้อหา
กระบวนการจัดการความรูมีขั้นตอนอยางไร?
         1. การบงชี้ความรู
         2. การสรางและแสวงหาความรู
         3. การจัดความรูใหเปนระบบ
         4. การประมวลและกลั่นกรองความรู
         5. การเขาถึงความรู
         6. การแบงปนแลกเปลี่ยนความรู 
องค์กรแห่งการเรียนรู้” ( Learning Organization : LO)
          “องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์สำคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง (Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา 
องค์ประกอบขององค์การแห่งการเรียนรู้  มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่
1)      ระดับการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล การเรียนรู้ระดับกลุ่ม และการเรียนรู้ระดับองค์การ
2)      ประเภทของการเรียนรู้  ได้แก่  การเรียนรู้จากการปรับตัว การเรียนรู้จากการคาดการณ์ การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้ และการเรียนรู้จากการปฏิบัติ
3)      ทักษะการเรียนรู้  ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
3.1) บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery) 
3.2) แบบแผนทางความคิด (Mental Model) 
3.3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
3.4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning)
3.5) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking)
3.6) การสนทนาแบบมีแบบแผน (Dialogue)
2. องค์การ (Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation)  ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ  ได้แก่
1)      วิสัยทัศน์ 
2)      วัฒนธรรมองค์การ 
3)      กลยุทธ์ 
4)      โครงสร้าง
3.       สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่
1)      บุคลากร
2)      ผู้บริหาร / ผู้นำ
3)      ผู้รับบริการ / ลูกค้า
4)      คู่ค้า
5)      พันธมิตร / หุ้นส่วน
6)      ชุมชน
4.       ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ประกอบด้วย
1)      การแสวงหาความรู้
2)      การสร้างความรู้
3)      การจัดเก็บความรู้
4)      การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์
5.       เทคโนโลยี (Technology) หรือการนำเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) ประกอบด้วย
1)      เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)      เทคโนโลยีพื้นฐานของการเรียนรู้
3)      ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สนับสนุนการปฏิบัติงาน

แนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
1. บุคคลรอบรู้ (Personal Mastery)  หมายถึง การเรียนรู้ของบุคลากรจะเป็นจุดเริ่มต้น คนในองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ
2. แบบแผนทางความคิด (Mental Model)  หมายถึง แบบแผนทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ แสดงถึงวุฒิภาวะ(Emotional Quotient, EQ) ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์กลายเป็นกรอบความคิดที่ทำให้บุคคลนั้นๆ มีความสามารถในการทำความเข้าใจ วินิจฉัย ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) หมายถึง การสร้างทัศนคติร่วมของคนในองค์กร ให้สามารถมองเห็นภาพและมีความต้องการที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน
4. การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) หมายถึง การเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในลักษณะกลุ่มหรือทีมงานเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์กันอย่างสม่ำเสมอ
5. การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) หมายถึง การที่คนในองค์กรมีความสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ โดยมองเห็นภาพความสัมพันธ์กันเป็นระบบโดยรวม(Total System) ได้อย่างเข้าใจแล้วสามารถมองเห็นระบบย่อย(Subsystem) ที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อยๆ นั้นให้เสร็จทีละส่วน
ลักษณะสำคัญ 5 ประการขององค์การแห่งการเรียนรู้
           องค์การที่เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ จะมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ
1.  มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ (Systematic problem Solving) โดยอาศัยหลักทางวิทยาศาสตร์ เช่น การใช้วงจรของ Demming ( PDCA : Plan, Do, Check, Action)
2. มีการทดลองปฏิบัติ (Experimental) ในสิ่งใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อองค์การเสมอ โดยอาจจะเป็น Demonstration Project หรือเป็น Ongoing program
3.  มีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต (Learning from their own experience) มีการบันทึกข้อมูลเป็น case study เพื่อให้สมาชิกในองค์การได้ศึกษาถึงความสำเร็จและความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคต มีการแลกเปลี่ยนความรู้และ ประสบการณ์ของสมาชิก
4. มีการเรียนรู้จากผู้อื่น (Learning from the Others) โดยการใช้การสัมภาษณ์ (Interview), การสังเกต (Observation) ฯลฯ
5. มีการถ่ายทอดความรู้โดยการทำ Report, Demonstration, Training & Education, Job Rotation ฯลฯ

อุปสรรคต่อการเรียนรู้ขององค์การ
1. สมาชิกในองค์การรู้แต่หน้าที่ของตนเองแต่ไม่รู้เป้าหมายขององค์การ (I'm my position)
2. สมาชิกรู้ว่าปัญหาขององค์การอยู่ที่ใด แต่ไม่รู้ว่าตัวเองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร (The enemy is out there)
3. ทำตามแบบที่เคยทำ เห็นแต่ภาพลวงตา ไม่ได้แก้ปัญหาที่สาเหตุที่แท้จริง (The Illustration of  taking change)
4. ยึดติดอยู่กับเหตุการณ์มากเกินไป (A fixation on events)
5. ความเข้าใจผิดว่าการเรียนรู้มาจากประสบการณ์เท่านั้นแต่ไม่เข้าใจในความแตกต่างของอดีตกับปัจจุบัน (The delusion of learning from experience)
6.  มีผู้บริหารที่ดีแต่ไม่ได้สืบทอดความรู้ให้ผู้บริหารรุ่นต่อไป (The myth of management team)
7. ขาดสติไม่รู้ตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป (The boiled frog syndrome)

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ
3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ 
4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอน มีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
          5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น
- การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ  ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น
- การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก  เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
         - เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ เช่น ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ซึ่งสามารถกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสำรวจ การเดินทาง และใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมทางอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth 

 ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน  กล่าวคือ  เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ  ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต  ช่วยในการแสวงหาความรู้จากแหล่งใหม่ๆ  ทำให้เกิดการเข้าถึงความรู้  มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ  นอกจากนี้การมีระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น   โดยกระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้  มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 
1.  กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 
              เป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร   ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วย 7 ดังนี้ 
              1.1  การบ่งชี้ความรู้หรือการค้นหาความรู้ (Knowledge  Identification)  เป็นการพิจารณาว่าองค์กรมี วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย อะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยจำเป็นต้องรู้ว่า  ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใครหรือการทำแผนที่ความรู้ (Knowledge Mapping) เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับองค์กร แล้วจัดลำดับความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตของการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
              1.2  การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)  จากแผนที่ความรู้ องค์กรจะทราบว่ามีความรู้ที่จำเป็นที่ต้องการมีอยู่หรือไม่ ถ้ามีแล้วองค์กรก็จะต้องหาวิธีการในการดึงความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่อาจอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้  ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขั้นตอนนี้ประสบความสาเร็จคือ บรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศก็มีส่วนช่วยให้บุคลากรสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาความรู้ใหม่ๆ จากภายนอกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 
              1.3  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต โดยองค์กรต้องจัดความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ 
              1.4  การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) องค์กรต้องประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย  ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ 
              1.5  การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) องค์กรต้องมีวิธีการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ สามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 
              1.6  การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้(Knowledge Sharing) ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีผสมผสานเพื่อให้บุคลากรได้เลือกใช้วิธีการตามความถนัดและความสะดวก 
              1.7  การเรียนรู้ (Learning) วัตถุประสงค์ที่สาคัญที่สุดในการจัดการความรู้คือการเรียนรู้ของบุคลากรและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งจะไปเพิ่มพูนความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของงาน 
2.  เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการจัดการความรู้ 
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที (Information and Communications Technology)  หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำระบบคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ  สำหรับในด้านการจัดการความรู้  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เอื้อให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความรู้สามารถทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยก็มีส่วนช่วยให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้นั้นประกอบด้วย
              2.1 เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูลสารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ตได้
              2.2  เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง เช่น โปรแกรมการทำงานเป็นกลุ่มหรือกรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นซอฟแวร์ที่ทำให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีมผ่านระบบเครือข่าย มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการประชุมร่วมกัน
              2.3  เทคโนโลยีในการจัดเก็บความรู้ (Storage Technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ เช่นระบบจัดการฐานข้อมูล  เหมืองข้อมูล (Data Mining) ที่เป็นการดึงข้อมูลจากแหล่ง จัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล (Data Warehouse) มารวบรวมและแสดงผลในรูปแบบที่ใช้ประโยชน์ได้ 
              กล่าวโดยสรุป  กระบวนการจัดการความรู้และเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นมีความสัมพันธ์กัน โดยเทคโนโลยีจะสนับสนุนกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้  เพื่อให้การดำเนินงานได้ประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้  ทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้  การนำเสนอ  การจัดเก็บและดูแลปรับปรุงความรู้ต่างๆ  รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในกระบวนการจัดการความรู้ด้วย

อ้างอิง : คุณกมลรัตน์ วัชรินทร์
             สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.



วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิจารณ์โดยให้เสนอประเด็นใดเพิ่มเติมก็ได้ ๓ ประเด็น กาลามสูตร กับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

1. อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบ ๆ กันมา อย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่าได้ยินอย่างนี้ อย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง อย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน อย่าได้ยึดถือโดยความตรึกตามอาการ อย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่าต้องกันกับทิฐิของตัว อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
2. การคิดวิเคราะห์เป็นตัวสร้างระบบช่องความคิดต่างๆ โดยใช้สติปัญญา เพื่อแก้ปัญหาทำให้เกิดผลดีและเพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆที่ดีกว่า

3. ความรู้ต่างๆของมนุษย์ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ สามารถที่จะอธิบาย ควบคุมหรือพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้ การแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญาและการฝึกฝนต่างๆ
                                                                 นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว    5511600271

ส่งงานครั้งที่ 4 โดย นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว  

รายวิชา 1104 739 Knowledge Management

1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟิก
1. ผู้ใช้สามารถที่จะจัดรูปแบบการแสดงข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง เช่น
   - การเพิ่มหรือลดการแสดงข้อมูล
   - การจัดลำดับก่อนหลังในการแสดงข้อมูล
   - การเปลี่ยนรูปแบบ,สี หรือรูปภาพที่จะแสดง
          2. ควรมีระบบสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นส่วนตัว
          3. มีระบบนับจำนวนผู้เข้าชม เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และผู้ชมทั้งหมด
          4. มีระบบแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาแสดงความคิดเห็น

        

2. ท่านคิดว่า “คุณอำนวย ใน KM มีความสำคัญอย่างไร” และจะทำอย่างไรให้คุณอำนวยเกิดประโยชน์มากที่สุด

คุณอำนวย ใน KM มีความสำคัญอย่างไร

          1. จุดประกายความคิด การสร้างความกระตือรือร้น

          2. จัดการประชุม

          3. การเป็นวิทยากรกระบวนการ ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือแบ่งปันความรู้

         4. ทักษะในการจับประเด็น และบันทึกขุมความรู้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

         5. รู้จักและสามารถในการเข้าถึงแหล่งความรู้ภายนอก

         6. มีทักษะในการเขียน

         7. ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

         8. ทักษะในการสร้างบรรยากาศ มุ่งมั่น ชื่นชม แบ่งปัน มุ่งเป้า

         9. ทักษะในการเรียนรู้ และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ

       10. ทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกับ “คุณอำนวย” คนอื่นๆ และร่วมกับ “คุณเอื้อ”

       11. เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ให้ได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายองค์กร

คุณอำนวยเป็นผู้คอยอำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ ความสำคัญของ คุณอำนวยอยู่ที่การเป็นนักจุดประกายความคิดและการเป็นนักเชื่อมโยง
จะทำอย่างไรให้คุณอำนวยเกิดประโยชน์มากที่สุด 
คุณอำนวยเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กลุ่มเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยความเรียบร้อย ไม่หลุดประเด็นสร้างบรรยากาศเชิงบวกและมีความเป็นกันเอง กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มผลัดกันเล่าเรื่องในหัวข้อที่กําหนดอย่างทั่วถึงทั้งด้านที่ประสบความสําเร็จและด้านที่ประสบปัญหาอุปสรรค หากสมาชิกกลุ่มไม่ตั้งคำถาม คุณอำนวยต้องตั้งคำถามแทน โดยสมมติว่าตัวเองเป็นสมาชิกกลุ่มผู้หนึ่ง หรือหากมีการตั้งคำถามที่ยังไม่ครอบคลุมหรือไม่ตรงประเด็น คุณอำนวยต้องตั้งคำถามที่แสวงหาคำตอบเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มและเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจเกี่ยวการจัดการความรู้


3. ท่านคิดว่า นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
Social network
         ปัจจุบันนี้ในโลกอินเทอร์เน็ตรูปแบบของเว็บไซต์ที่เป็น Social Network ได้มีเพิ่มมากขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งหากถามว่าเว็บไซต์ในรูปแบบของ Social Network คืออะไรก็คงต้องบอกง่ายๆ ว่า ก็คือเว็บไซต์ที่คุณสามารถ "สร้าง" ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนได้ผ่านเว็บไซต์ในรูปแบบเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายจาก"เพื่อนสู่เพื่อน" ซึ่งหากอธิบายแบบนี้อาจจะมองเห็นภาพได้ยากหน่อย แต่หากยกตัวอย่างเว็บไซต์ เช่น www.hi5.com ที่โด่งดังมากในกลุ่มวัยรุ่น (และไม่รุ่น) ของเมืองไทย, www.facebook.com ที่คนฝั่งสหรัฐอเมริกาใช้กันฮิตถล่มทลายตอนนี้, หรือแม่แต่ www.twitter.com ที่กำลังเป็นที่สนใจของนักท่องเว็บของเรา เป็นระบบ Micro Blog ที่คุณสามารถบอกให้เพื่อนคุณรู้ว่า "คุณกำลังทำอะไรอยู่ตอนนี้" ซึ่งกำลังเป็นบริการออนไลน์อันใหม่ ที่มาแรงมาในตอนนี้

Web social network ช่วยจัดการความรู้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร
       1. ช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ทำได้อย่างกว้างขวาง และสามารถจำกัดหรือขยายขนาดของเครือข่ายสังคม ตั้งแต่ระดับกลุ่ม ไปจนถึงระดับประเทศ ระดับสากลทั่วโลกได้ 
           2. เปิดโอกาสให้เข้าถึงและร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้ง่ายและสะดวกกว่า ไม่ว่าจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมถ่ายทอดความรู้ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการรับความรู้ไปใช้ หรือเป็นทั้งสองทิศทาง
           3. การเข้าร่วมในเว็บเครือข่ายสังคม มักเป็นความสมัครใจของสมาชิกเอง ทำให้สมาชิกเต็มใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ ภายในเครือข่ายสังคม
           4. เว็บเครือข่ายสังคม จะลบภาพของลำดับตำแหน่งหน้าที่ ความอาวุโสทางโครงสร้างองค์กรออกไป แล้วอยู่ร่วมกันโดยอาศัยความเคารพในองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความคิดเห็น เป็นเกณฑ์ทางสังคม ซึ่งเป็นส่วนดีที่สำคัญ ที่จะหันมาพิจารณาที่ตัวสาระขององค์ความรู้ แทนยศถาบรรดาศักดิ์ เปิดโอกาสให้ทุกคนกล้าที่จะแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ได้อย่างเต็มที่ เปิดมุมมองหลากหลายใหม่ๆ
           5. การนำคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยนและตรวจสอบองค์ความรู้นั้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญบุคคลอื่นๆ ในวงกว้าง เพื่อปรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
           6. สามารถสนทนาโต้ตอบ แลกเปลี่ยนทัศนะมุมมององค์ความรู้นั้นๆ กับผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงชั้นนำได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยที่ในชีวิตจริงอาจจะแทบเป็นไปไม่ได้
           7. เว็บเครือข่ายสังคม ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างสม่ำเสมอ จนสร้างความรู้สึกผูกพันเป็นมิตร ความไว้วางใจระหว่างกัน ที่จะช่วยให้เกิดความตั้งใจและใส่ใจต่อการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า
           8. เราสามารถเรียนรู้ ทำความเข้าใจได้ไปจนถึงที่มา แนวคิด กระบวนการวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา หรือแม้กระทั่งรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้เชี่ยวชาญ และสมาชิกในสังคมได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกลั่นกรององค์ความรู้แต่ละชิ้นให้เข้าใจได้ลึกซึ้งและมีความบริสุทธิ์ถูกต้องได้ดีขึ้น

4. ท่านคิดว่า " ในปัจจุบันมีโปรแกรมที่เป็นประเภท Blog มีอะไรบ้าง และท่านคิดว่า Blog ชื่ออะไรที่มีความนิยมที่สุด เพราะเหตุผลอะไร" 
     ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก
    รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง
       ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก

อ้างอิง :  http://th.wikipedia.org/wiki/บล็อก


       ท่านคิดว่า Blog ชื่ออะไรที่มีความนิยมที่สุด เพราะเหตุผลอะไร" 


คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้
คอนเซ็ปต์ของเว็บบล็อกแห่งนี้ ด้วยการอยู่ภายใต้การสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)ทำให้โฉมหน้าเว็บดูสะอาดตา เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีไอคอนต่างๆ ระเกะระกะ ทำให้ง่ายต่อการเลือกที่จะเข้าชม จุดเด่นของบล็อก GotoKnow.org อยู่ที่เจ้าของ สามารถจัดการบล็อกได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การสร้าง แก้ไข ลบ บล็อก หรือ การสร้าง แก้ไข ลบ บันทึก หรือ การลบข้อคิดเห็นเป็นต้น อีกทั้งเขียนบันทึกได้ง่ายเหมือนใช้ไมโครซอฟท์เวิร์ด มีแถบเครื่องมือที่อธิบายวิธีการใช้อย่างง่าย
สำหรับส่วนของลูกเล่นพิเศษในการตกแต่งบล็อกนั้น ไม่ต่างจากเว็บอื่นๆ มากนัก มีเครื่องไม้เครื่องมือให้ครบครัน แต่ด้วยลักษณะนิสัยของชาวบล็อกแห่งนี้ที่ค่อนข้างเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน จึงเน้นที่เนื้อหามากกว่าหน้าตา บล็อกของแต่ละคนเลยเรียบๆตามแพตเทิร์นเดิมที่ได้มา แต่สำหรับคุณสมบัติพิเศษและจุดเด่นของพื้นที่แห่งนี้ก็คือ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ทางวิชาการชั้นดี ความสามารถสร้างบล็อกได้มากกว่าหนึ่งบล็อกสำหรับผู้ใช้แต่ละคน(Multi-Blog) ขยายความ 1 Account สร้างกี่บล็อกก็ได้แต่มีเนื้อที่ให้รวม 30 MB
บอกจุดดีไปแล้ว ทีนี้ก็มาดูจุดด้อยกันบ้าง คงต้องบอกว่าความจืดชืดของเว็บ และความซับซ้อนในการลงทะเบียน หากใครรักที่จะมีบล็อกที่นี่จริงๆ คงต้องใจเย็นสักนิด แต่สำหรับคนใจร้อนอย่างผู้เขียนแล้วดูจะหงุดหงิดกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
ถ้าถามว่าเสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ตรงไหน คงบอกได้ว่า มันทำให้มีการสื่อสารสองทาง ระหว่างคนเขียน กับคนอ่าน นั่นก็คือ การทิ้งคอมเมนต์ต่างๆ เอาไว้ เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

อ้างอิง : http://www.thma.or.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=538828941&Ntype=5