วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
การจัดการความรู้ ( Knowledge Management  -  KM )  คือ  กระบวนการนำเอาความรู้ที่มีอยู่ มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งกระทำร่วมกัน ไม่ใช่กิจกรรมของคนเพียง คนเดียว หรือหลายคนแต่ต่างคนต่างทำ ดังนั้นจึงควรทราบบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการความรู้ ดังต่อไปนี้

1. คุณเอื้อ หรือ Chief Knowledge Officer (CKO) ซึ่งได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น โดยจะทำ หน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision) หรือทิศทางที่ทุกคนในองค์กรจะต้องมุ่งหน้าไป
2. คุณอำนวย หรือ Knowledge Facilitator ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากคุณเอื้อ ให้ทาหน้าที่เป็น ผู้จัดการทั่วไป ที่กระทำทุกอย่างเพื่อให้การจัดการความรู้ขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
3. คุณประสาน หรือ KM Co-Ordinator เป็นคณะทำงานที่เป็นตัวแทนมาจากหน่วยงานต่างๆ ใน องค์กร โดยมีคุณอำนวยเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำหน้าที่ร่วมกันวางแผนดำเนินการตามนโยบาย หรือทิศทางที่คุณเอื้อกำหนด และนำแผนดังกล่าวไปถ่ายทอดต่อให้แต่ละหน่วยงานรับไปปฏิบัติ
4. คุณกิจ หรือ Knowledge Practitioner ได้แก่พนักงานทั้งหมดขององค์กร ที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมให้เป็นไปตาม Action Plan ที่กำหนดไว้
5. คุณลิขิต (Knowledge Capturer) ทำหน้าที่บันทึกความรู้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกองค์กรหรือจาก Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้ออกสู่สื่อที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ เครื่องมือที่คุณลิขิตใช้ในการบันทึกความรู้ อาจจะเป็นการ Take Note ธรรมดา หรือเป็นเครื่องมือ High Technology ที่สร้างโดยคุณวิศาสตร์ก็ได้
6. คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ออกแบบระบบ IT และเครื่องมือต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร
- จัดหา Hardware และ Software
- จัดอบรมการใช้งาน - ดูแลระบบและคอยให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาการใช้งาน
- ประสานงานกับที่ปรึกษาทางด้าน IT Technology จากภายนอก (ถ้ามี)
- ตรวจรับผลงานของ Suppliers หรือจากที่ปรึกษาภายนอก

 Knowledge Management Tools
เครือซิเมนต์ไทยหรือ SCG นำ IT มาใช้เพื่อการจัดการความรู้ในแทบทุกขั้นตอนของการดาเนินงาน โดยอาศัย Infrastructure และระบบ SCG Computer Network ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงสามารถสร้างระบบ Web Based Applications ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปัจจุบันมี Web Portal ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ซึ่งมีขอบเขตการ ทางานครอบคลุมทั้ง E-Learning และ Knowledge Management System ระบบงานถูกออกแบบให้ สามารถเพิ่มเติม Function การทางานได้โดยไม่จากัดตามแนวคิดในการออกแบบระบบที่เรียกว่า Jigsaw Module
สำหรับเนื้อหาความรู้ (Contents) ใช้หลักการเดียวกับ Wikipedia คือผู้ใช้ คือผู้ให้ความรู้แก่กันและ กัน โดยระบบ จะ Provide เครื่องมือง่ายๆ แก่ผู้ใช้ที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้อื่น หรือร่วมเป็นผู้ดูแลระบบตามสิทธิที่ได้รับมอบหมายจาก Administrator

1. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง
2. บริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
          3. ชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือความรู้ที่สำคัญของ น.บค. และยังขาดความรู้อะไร
4. สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database
5. สร้างช่องทางเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน
6. การเรียนรู้ของพนักงาน และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
7. จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออานวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. จัดทำ ระบบพี่เลี้ยง” (Mentoring System)
9. จัดทาระบบที่ปรึกษา” (Expert System) สำหรับให้คำปรึกษาหรือตอบคาถาม
10. จัดทำโครงการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากพนักงานที่ใกล้จะเกษียณ
11. จัดทำกิจกรรมทบทวนการกระทำหลังเสร็จสิ้นภารกิจ” (After Action Review)
12. จัดทีมงานให้บริการบันทึกและจัดเก็บความรู้ด้วยมัลติมีเดีย เทคโนโลยี
13. ขอการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2008
14. ทำให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ
15 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างเครื่องมือด้าน E-Learning และ KM

           การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง   จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ  จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย
ปัจจัยความอยู่รอดขององค์การ
 - ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
 - นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
 - ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
 - ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์การ
 - ผู้นำองค์การ
            ผู้นำองค์การ  มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกันแต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี  คือ  วิสัยทัศน์  ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย   และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า
เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG เป็นองค์กรที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบศตวรรษ เราได้นำเครื่องจักรและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมากจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ประกอบกับการที่ SCG ได้ดำเนินกิจการร่วมค้ากับผู้นำในตลาดสินค้าหลายประเภทจึงทำให้พนักงาน SCG ซึมซับเอาความรู้ทางเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดจากคู่ค้า  มาสั่งสมไว้บวกกับประสบการณ์และความสามารถของวิศวกร SCG ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของตลาดในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านั้นกำลังจะสูญหายไปพร้อมๆ กับพนักงาน SCG ที่จากไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า
          เนื่องจากระบบการบริหารงานของ SCG เป็นรูปแบบ Decentralization  ดังนั้น การรับรู้ข่าวสารของพนักงานก็ดี  การเลือกใช้เครื่องมือการบริหารต่างๆ ก็ดี  จึงมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจ  ซึ่งรวมถึงวิธีการและขั้นตอนการนำระบบ Knowledge Management มาใช้ด้วย แต่บนความแตกต่างนั้นยังมีจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละธุรกิจกล่าวคือมีการแต่งตั้งคณะทำงานด้าน KM ขึ้นใน SCG ซึ่งประกอบด้วยพนักงานระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน โดยที่สมาชิกมาจากตัวแทนผู้ปฏิบัติงานด้าน KM ของแต่ละธุรกิจ   โดยคณะทำงานนี้จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ด้าน KM ของเครือฯ และจัดกิจกรรมหลักที่พนักงาน SCG ทุกคนมีส่วนร่วม
          นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งคณะทำงานอื่นๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ KM ภายใน SCG ได้แก่คณะทำงาน Innovation  ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันวิสัยทัศน์เรื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมของ SCG คณะทำงาน Inno People ที่มีบทบาทในการสร้างคนพันธุ์ใหม่ของ SCG ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วองค์กรในปัจจุบันและในอนาคต  คณะทำงาน Eager to Learn ที่มีบทบาทในการจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงาน SCG เป็นบุคคลที่ใฝ่หาความรู้และแบ่งปันอยู่ตลอดเวลา  นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้าง Facilitators เป็นจำนวนหลายรุ่น ทั้งจากโครงการ Inno Facilitator และโครงการ Constructionism  เพื่อสร้างพนักงานที่ทำหน้าที่เป็น Change Agent กระจายอยู่ในแต่ละธุรกิจ


                                                          นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี กับ การจัดการองค์ความรู้ ในมุมมองของข้าพเจ้า
        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา และทรงศึกษาต่อในโรงเรียนจิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ทรงสอบไล่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสามารถทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในประเทศจนกระทั่งพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98 พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก (ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร)  คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและสาขาภาษาบาลีและสันสกฤต จาก ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างนั้น มีพระราชกิจมากจนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2  มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จการศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อน โดยทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้งทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาททรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระองค์ผ่านการสอบคัดเลือกอย่างยอดเยี่ยมด้วยคะแนนเป็นอันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรื่อง การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาไทยนั้นมีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียนภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะในการเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์จึงทรงนำเสนอวิธีการสอนภาษาไทยในลักษณะนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอนภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่านวิทยานิพนธ์อย่างยอดเยี่ยม สภามหาวิทยาลัยอนุมัติให้ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก จากการศึกษาของพระองค์ได้พยายามเพื่อที่จะเพิ่มพูนความรู้ตลอดเวลาและมุ่งเน้นเพื่อปวงชนชาวไทย


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี พระองค์เป็นผู้มีพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านอักษรศาสตร์ เพราะขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่างๆ พระราชทาน และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่างๆ หลายตอน ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ยังทรงสนพระทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย พระองค์จึงทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีน และทรงกำลังศึกษา ภาษาเยอรมัน และภาษาลาตินอีกด้วย พระปรีชาสามารถทางด้านภาษาของพระองค์นั้นจึงเป็นที่ประจักษ์ และด้านดนตรี พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียน ทรงเล่นซอด้วงเป็นหลักและทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่น ๆ ด้วย นอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น 2 ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถทรงทรัมเป็ตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต
ด้านพระราชนิพนธ์ พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เช่น เกล็ดหิมะในสายหมอก ทัศนะจากอินเดีย มนต์รักทะเลใต้ ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กษัตริยานุสรณ์ หนังสือสำหรับเยาวชน เช่น แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย เช่น สมเด็จแม่กับการศึกษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการศึกษา ประเภทพระราชนิพนธ์แปล เช่น หยกใสร่ายคำ ความคิดคำนึง เก็จแก้วประกายกวี และหนังสือทั่วไป เช่น นิทานเรื่อง เรื่องของคนแขนหัก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงเป็นจำนวนมาก โดยบทเพลงที่ดังและนำมาขับร้องบ่อยครั้ง ได้แก่ เพลงส้มตำ รวมทั้ง ยังทรงประพันธ์คำร้องในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้แก่ เพลง รัก และ เพลง เมนูไข่ พระองค์ได้นำความรู้มาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การอุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ พระองค์ทรงสนพระทัยด้านศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย  ซึ่งพระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยทรงเป็นแบบอย่างในการเสด็จทรงเครื่องดนตรีไทยร่วมกับประชาชนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยโดยการชำระโน้ตเพลง บันทึกเพลงเก่า และเผยแพร่งานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดการเผยแพร่งานทางด้านดนตรีไทย ซึ่งจากงานทางด้านการอนุรักษ์ดนตรีไทย ครูเสรี หวังในธรรม ได้กล่าวไว้ว่า ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่ นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฏศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทยเมื่อ พ.ศ. 2531 และ วิศิษฏศิลปินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546  เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา รวมทั้ง ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการศึกษา เมื่อพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแล้ว ทรงเข้ารับราชการเป็นพระอาจารย์ประจำกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์ ส่วนการศึกษา ทรงสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยและสังคมวิทยา พระองค์จึงทรงเป็น "ทูลกระหม่อมอาจารย์" สำหรับนักเรียนนายร้อยตั้งแต่นั้น ต่อมาเมื่อมีการตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2530 พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการกองวิชาประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบันและทรงได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ ส่วนการศึกษา ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2529 และเป็นศาสตราจารย์ ส่วนการศึกษา ประจำโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (อัตราจอมพล) เมื่อปี พ.ศ. 2543  นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงรับเชิญเป็นพระอาจารย์สอนในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒนั้น พระองค์ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาพัฒนาศึกษาศาสตร์ด้วย
ในปี พ.ศ. 2525 ทรงพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป เปิดทำการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2525 โดยทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์ประธานกรรมการคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ และทรงเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานทุกครั้ง รวมถึงเสด็จพระราชดำเนินไปในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียนทุกครั้ง เพื่อพระราชทานทุนพระราชทานส่งเสริมการเรียนดี และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาต่าง ๆ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวังชาย วิทยาลัยในวังหญิง โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย (ช่างทองหลวง)
ในปี พ.ศ. 2533 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวครั้งแรก ได้มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์โดยเสด็จพระราชกุศลเป็นเงิน 12 ล้านกีบ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเงินไปก่อสร้างเรือนนอนให้แก่โรงเรียนวัฒนธรรมเด็กกำพร้า (หลัก 67) ซึ่งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือประมาณ 67 กิโลเมตร พระราชทานชื่อว่า อาคารสิรินธรโดยมีพระราชดำริที่จะช่วยเหลือนักเรียนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในรูปแบบของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน โดยนำแนวทางที่ดำเนินการในประเทศไทยมาประยุกต์ใช้ และสนับสนุนการประกอบอาชีพเสริม
พ.ศ. 2535 ทรงพระราชดำริพระราชทานความช่วยเหลือกัมพูชาในการก่อตั้งวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล  จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา โดยพระราชทานเงินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่าง ๆ เสด็จฯ ไปทรงเปิดวิทยาลัย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนแก่นักเรียนเพื่อให้มาศึกษาต่อในประเทศไทยในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรอาชีวศึกษา เพื่อนำความรู้กลับไปสอนและพัฒนาการจัดการศึกษาของวิทยาลัย รวมทั้งทรงสนับสนุนการศึกษาด้านนาฏศิลป์และดนตรี
ในปี พ.ศ. 2549 พระองค์ทรงมีแนวความคิดจัดตั้งโครงการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ขึ้น โดยความร่วมมือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างนักอักษรศาสตร์ที่มีมุมมองและแนวคิดใหม่เพื่อเป็นกำลังของชาติ มีพระวิสัยทัศน์ก้าวไกล ทรงสนับสนุนการช่วยเหลือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้เป็นโรงเรียนผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สร้าง "องค์ความรู้" ให้แก่ประเทศไทย
ด้านการพัฒนาสังคม พระองค์ทรงมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายหลากโครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้น มุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาราษฏร พระองค์ทรงสนพระทัยงานด้านการพัฒนา ซึ่งถือเป็นงานหลักที่พระองค์ทรงงานควบคู่กับงานวิชาการ พระองค์ทรงเรียนรู้งานทางด้านพัฒนาจากการตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ทั่วประเทศ จากการที่พระองค์ทรงได้เสด็จฯ ไปตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย พระองค์ทรงนำความรู้ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงมาใช้ในงานด้านการพัฒนาสังคม นำไปสู่โครงการตามพระราชดำริส่วนพระองค์มากมาย โครงการตามพระราชดำริในระยะเริ่มแรกนั้น พระองค์ทรงงานเกี่ยวกับเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารที่มีปัญหาขาดสารอาหาร ดังนั้น จึงทรงพระราชดำริส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันรับประทาน โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยเริ่มที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และได้ขยายออกไปยัง 44 จังหวัดในพื้นที่ทุรกันดาร โครงการในพระราชดำริในระยะต่อมา พระองค์ทรงมุ่งเน้นทางด้านการศึกษามากขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงพระราชดำริว่า การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ตลอดจนความประพฤติและคุณงามความดีของบุคคล โดยพระองค์ทรงตั้งพระทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ
ด้านการพัฒนาห้องสมุดและการรู้หนังสือ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์ หลายโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ได้เสด็จเยี่ยมและทรงดูงานห้องสมุดชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งได้พระราชทานข้อแนะนำแก่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และบรรณารักษ์ไทยในการนำความรู้ไปพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนรวมทั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีที่เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสให้ประชนในการพัฒนาการรู้หนังสือ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯเสมอมา รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสมาพันธ์สมาคมห้องสมุดฯนานาชาติ (IFLA) และมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม IFLA ครั้งที่ 65 ที่กรุงเทพมหานครในปี 1999
ด้านการต่างประเทศ พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปอย่างเป็นทางการ ระหว่าง ปี พ.ศ. 2503-พ.ศ. 2504 ในขณะที่มีพระชนมายุ 5 พรรษา หลังจากนั้น พระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศเป็นจำนวนหลายครั้ง โดยการเสด็จฯ นั้น พระองค์เสด็จฯ ทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะหรืออาคันตุกะของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ    อย่างเป็นทางการ รวมทั้ง เสด็จฯ เป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งนอกจากจะทรงงานเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศแล้ว พระองค์ยังเสด็จฯ ทอดพระเนตรสังคม วัฒนธรรม สถานที่ต่าง ๆ และทรงได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ และได้ทรงนำความรู้และประสบการณ์ที่ทรงได้ทอดพระเนตรและจดบันทึกมาประยุกต์ใช้กับการทรงงานภายในประเทศด้วย ซึ่งการเสด็จฯ ทรงงานในต่างประเทศของพระองค์ทำให้หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสว่าถวายพระราชสมัญญานามแด่พระองค์ว่า เจ้าฟ้านักดูงานหรือ “Le Princesse Stagiaire” รวมทั้ง พระองค์ยังได้รับการยกย่องจากสมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์แห่งประชาชนจีนว่าทรงเป็น "ทูตสันถวไมตรี"ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีน 
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงร่วมมือกับนานาประเทศเพื่อก่อเกิดความร่วมมือในด้านการพัฒนาสังคม อาทิเช่น ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว ซึ่งพระองค์ได้ทรงมีโครงการตามพระราชดำริทั้งในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุข การพัฒนาทางด้านการศึกษา เป็นต้น นอกจากประเทศลาวแล้ว โครงการเพื่อการพัฒนาของพระองค์ยังได้ขยายออกไปยังประเทศกัมพูชา ประเทศพม่า และประเทศเวียดนามด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ พระองค์ทรงให้ความร่วมมือในโครงการอาหารในโรงเรียน ซึ่งเป็นโครงการของโครงการอาหารโลกแห่งองค์การสหประชาชาติ โดยได้แต่งตั้งให้พระองค์เป็นทูตพิเศษของโครงการด้วย, โครงการการศึกษาเพื่อทุกคน เป็นโครงการด้านการส่งเสริมศักยภาพของเด็กชนกลุ่มน้อย ด้วยการศึกษาและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นโครงการขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม รวมทั้ง โครงการการศึกษาหลังประถมศึกษาสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น โดยมูลนิธิการศึกษาเพื่อผู้ลี้ภัย สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
ด้านการสาธารณสุข จากการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรในชนบท พระองค์จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยของราษฎร โครงการแรกที่พระองค์ทรงเริ่ม ได้แก่ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน ซึ่งโครงการนี้นอกจากจะแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันแล้วยังช่วยให้นักเรียนมีความรู้ทางด้านโภชนาการและการเกษตรด้วย และปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง นั่นคือ การระบาดของโรคคอพอกเนื่องจากการขาดสารไอโอดีน พระองค์ทรงแก้ไขปัญหานี้โดยทรงริเริ่ม โครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ด้วยการรณรงค์ให้มีการใช้เกลือไอโอดีนหรือหยดไอโอดีนในการประกอบอาหาร และอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการขาดไอโอดีน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่เสริมการทำงานของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ พระองค์ยังให้ความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดารด้วย โดยพระองค์ทรงตระหนักว่าคนเราจะภาวะโภชนาการและสุขภาพอนามัยที่ดีนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ในครรภ์มารดา พระองค์จึงเริ่ม โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยแม่และเด็กในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้แม่และเด็กได้รับบริการทางด้านอนามัยอย่างเหมาะสม รวมทั้งได้รับโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยทันตกรรมพระราชทานเพื่ออกตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารที่พระองค์เสด็จฯ เยี่ยมในแต่ละครั้ง รวมทั้งทรงรับผู้ป่วยที่ยากจนเป็นคนไข้ในพระราชานุเคราะห์ด้วย พระองค์เสด็จ ณ โรงพยาบาลต่าง ๆ ในประเทศเยอรมนี ด้วยความเป็นห่วงประชาชนที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูกและจักษุ นำวิทยาการในประเทศเยอรมนีมาสู่เมืองไทย
ด้านศาสนา พระองค์ทรงได้รับการอบรมให้มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยพระองค์มักมักจะได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เสด็จฯ เป็นผู้แทนพระองค์ เพื่อเป็นองค์ประธานในพิธีที่เกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น พิธีเวียนเทียนที่พุทธมณฑล เนื่องในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
พระองค์มีพระราชดำริให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาพัฒนาประเทศหลายประการ ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการของโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นเลขานุการ โดยมีพระราชดำริให้โครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นโครงการนำร่องและใช้เป็นตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ และมีพระราชประสงค์จะให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงการนั้น ๆ มารับช่วงต่อไปพระองค์ทรงเริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในชนบท ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ใน โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโรงเรียนในชนบท โดยพระราชทานเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปรณ์ที่จำเป็นเพื่อจัดตั้งเป็นห้องเรียนขึ้น และพัฒนามาจนสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ปัจจุบัน มีโรงเรียนในโครงการประมาณ 85 แห่ง โดยมีโรงเรียนในจังหวัดนครนายกเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเพื่อนำแนวทางใหม่ ๆ ไปทดลองใช้กับโรงเรียนในชนบทและทรงริเริ่ม โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความรู้ ความบันเทิง พัฒนาทักษะ และสร้างอาชีพต่อไปในอนาคต พระองค์ทรงมีคณะทำงานที่จะศึกษาวิจัยเพื่อหาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีและวิธีการช่วยเหลือผู้พิการในแต่ละด้านอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำรินี้ ยังเพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องขังในทัณฑสถานได้รับการอบรมและฝึกทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างการถูกคุมขัง เพื่อสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปพัฒนาตนเองและนำไปประกอบอาชีพได้ และมีโครงการสำหรับเด็กป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาภายในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะทำให้ขาดโอกาสทางด้านการศึกษา โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการเรียนรู้ สร้างความเพลิดเพลิน รวมทั้ง ส่งเสริมพัฒนาการแก่เด็กที่ป่วยด้วย นอกจากนี้ พระองค์ยังนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานทางด้านการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย 76 จังหวัด ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ดูแลโครงการนี้
จากพระราชกรณียกิจทางด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทำให้วารสารอินโฟแชร์ ซึ่งเป็นวาสารของสำนักงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารของยูเนสโก ได้ตีพิมพ์บทความเฉลิมพระเกียรติการอุทิศพระองค์เพื่อการศึกษาเรียนรู้ด้านสารสนเทศของเด็กและผู้ด้อยโอกาสของไทย รวมทั้ง ยังได้ถวายนาม “IT Princess” หรือ เจ้าหญิง ไอทีแก่พระองค์อีกด้วย

นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว
รหัสประจำตัว  5511600271
สาขา เทคโนโลยีสารสนเทศ