วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
การจัดการความรู้ ( Knowledge Management  -  KM )  คือ  กระบวนการนำเอาความรู้ที่มีอยู่ มาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยนและใช้ความรู้ เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สามารถนำมาเผยแพร่หรือนำกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนจำนวนหนึ่งกระทำร่วมกัน ไม่ใช่กิจกรรมของคนเพียง คนเดียว หรือหลายคนแต่ต่างคนต่างทำ ดังนั้นจึงควรทราบบทบาทของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการความรู้ ดังต่อไปนี้

1. คุณเอื้อ หรือ Chief Knowledge Officer (CKO) ซึ่งได้แก่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรนั้น โดยจะทำ หน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ (Knowledge Vision) หรือทิศทางที่ทุกคนในองค์กรจะต้องมุ่งหน้าไป
2. คุณอำนวย หรือ Knowledge Facilitator ซึ่งเป็นบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งจากคุณเอื้อ ให้ทาหน้าที่เป็น ผู้จัดการทั่วไป ที่กระทำทุกอย่างเพื่อให้การจัดการความรู้ขององค์กรบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
3. คุณประสาน หรือ KM Co-Ordinator เป็นคณะทำงานที่เป็นตัวแทนมาจากหน่วยงานต่างๆ ใน องค์กร โดยมีคุณอำนวยเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทำหน้าที่ร่วมกันวางแผนดำเนินการตามนโยบาย หรือทิศทางที่คุณเอื้อกำหนด และนำแผนดังกล่าวไปถ่ายทอดต่อให้แต่ละหน่วยงานรับไปปฏิบัติ
4. คุณกิจ หรือ Knowledge Practitioner ได้แก่พนักงานทั้งหมดขององค์กร ที่ลงมือปฏิบัติกิจกรรมให้เป็นไปตาม Action Plan ที่กำหนดไว้
5. คุณลิขิต (Knowledge Capturer) ทำหน้าที่บันทึกความรู้ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและ ภายนอกองค์กรหรือจาก Tacit Knowledge ที่มีอยู่ในตัวบุคคลให้ออกสู่สื่อที่สามารถแลกเปลี่ยนได้ เครื่องมือที่คุณลิขิตใช้ในการบันทึกความรู้ อาจจะเป็นการ Take Note ธรรมดา หรือเป็นเครื่องมือ High Technology ที่สร้างโดยคุณวิศาสตร์ก็ได้
6. คุณวิศาสตร์ (IT Wizard) ทำหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ออกแบบระบบ IT และเครื่องมือต่างๆให้เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการจัดการความรู้ในองค์กร
- จัดหา Hardware และ Software
- จัดอบรมการใช้งาน - ดูแลระบบและคอยให้ความช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาการใช้งาน
- ประสานงานกับที่ปรึกษาทางด้าน IT Technology จากภายนอก (ถ้ามี)
- ตรวจรับผลงานของ Suppliers หรือจากที่ปรึกษาภายนอก

 Knowledge Management Tools
เครือซิเมนต์ไทยหรือ SCG นำ IT มาใช้เพื่อการจัดการความรู้ในแทบทุกขั้นตอนของการดาเนินงาน โดยอาศัย Infrastructure และระบบ SCG Computer Network ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงสามารถสร้างระบบ Web Based Applications ที่เข้าถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปัจจุบันมี Web Portal ที่ออกแบบเพื่อรองรับการใช้งานได้ 2 ภาษา (ไทย-อังกฤษ) ซึ่งมีขอบเขตการ ทางานครอบคลุมทั้ง E-Learning และ Knowledge Management System ระบบงานถูกออกแบบให้ สามารถเพิ่มเติม Function การทางานได้โดยไม่จากัดตามแนวคิดในการออกแบบระบบที่เรียกว่า Jigsaw Module
สำหรับเนื้อหาความรู้ (Contents) ใช้หลักการเดียวกับ Wikipedia คือผู้ใช้ คือผู้ให้ความรู้แก่กันและ กัน โดยระบบ จะ Provide เครื่องมือง่ายๆ แก่ผู้ใช้ที่จะนำเสนอเรื่องราวต่างๆ แก่ผู้อื่น หรือร่วมเป็นผู้ดูแลระบบตามสิทธิที่ได้รับมอบหมายจาก Administrator

1. แต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง
2. บริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
          3. ชี้ชัดให้ได้ว่าอะไรคือความรู้ที่สำคัญของ น.บค. และยังขาดความรู้อะไร
4. สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Database
5. สร้างช่องทางเพื่อให้เกิดการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงาน
6. การเรียนรู้ของพนักงาน และการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร
7. จัดสถานที่ทำงานให้มีบรรยากาศที่เอื้ออานวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
8. จัดทำ ระบบพี่เลี้ยง” (Mentoring System)
9. จัดทาระบบที่ปรึกษา” (Expert System) สำหรับให้คำปรึกษาหรือตอบคาถาม
10. จัดทำโครงการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากพนักงานที่ใกล้จะเกษียณ
11. จัดทำกิจกรรมทบทวนการกระทำหลังเสร็จสิ้นภารกิจ” (After Action Review)
12. จัดทีมงานให้บริการบันทึกและจัดเก็บความรู้ด้วยมัลติมีเดีย เทคโนโลยี
13. ขอการรับรองมาตรฐาน ISO 9001 : 2008
14. ทำให้เกิดเป็นวงจรการเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ
15 นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสร้างเครื่องมือด้าน E-Learning และ KM

           การจัดการความรู้มีมานานแล้วแต่ไม่ค่อยได้นำมาเผยแพร่หรือนำมาใช้ในการพัฒนาองค์การอย่างจริงจัง   จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ  จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กันอย่างแพร่หลาย
ปัจจัยความอยู่รอดขององค์การ
 - ประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากร
 - นวัตกรรมที่นำมาช่วยในการทำงาน
 - ความสัมพันธ์ที่ดีของบุคลากร
 - ความรวดเร็วในการทำงานและค่าใช้จ่ายในองค์การ
 - ผู้นำองค์การ
            ผู้นำองค์การ  มีรูปแบบของการทำงานที่ไม่เหมือนกันแต่องค์ประกอบที่ผู้นำต้องมี  คือ  วิสัยทัศน์  ความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์การไปสู่เป้าหมาย   และความสามารถในการเรียนรู้และการพัฒนาองค์การให้ก้าวหน้า
เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG เป็นองค์กรที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเกือบศตวรรษ เราได้นำเครื่องจักรและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมากจากบริษัทชั้นนำในต่างประเทศ ประกอบกับการที่ SCG ได้ดำเนินกิจการร่วมค้ากับผู้นำในตลาดสินค้าหลายประเภทจึงทำให้พนักงาน SCG ซึมซับเอาความรู้ทางเทคโนโลยีการผลิตและการตลาดจากคู่ค้า  มาสั่งสมไว้บวกกับประสบการณ์และความสามารถของวิศวกร SCG ที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับบริบทของตลาดในประเทศไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านั้นกำลังจะสูญหายไปพร้อมๆ กับพนักงาน SCG ที่จากไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า
          เนื่องจากระบบการบริหารงานของ SCG เป็นรูปแบบ Decentralization  ดังนั้น การรับรู้ข่าวสารของพนักงานก็ดี  การเลือกใช้เครื่องมือการบริหารต่างๆ ก็ดี  จึงมีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละธุรกิจ  ซึ่งรวมถึงวิธีการและขั้นตอนการนำระบบ Knowledge Management มาใช้ด้วย แต่บนความแตกต่างนั้นยังมีจุดเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละธุรกิจกล่าวคือมีการแต่งตั้งคณะทำงานด้าน KM ขึ้นใน SCG ซึ่งประกอบด้วยพนักงานระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน โดยที่สมาชิกมาจากตัวแทนผู้ปฏิบัติงานด้าน KM ของแต่ละธุรกิจ   โดยคณะทำงานนี้จะทำหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ด้าน KM ของเครือฯ และจัดกิจกรรมหลักที่พนักงาน SCG ทุกคนมีส่วนร่วม
          นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งคณะทำงานอื่นๆ ที่มีบทบาทสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของ KM ภายใน SCG ได้แก่คณะทำงาน Innovation  ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันวิสัยทัศน์เรื่องเกี่ยวกับนวัตกรรมของ SCG คณะทำงาน Inno People ที่มีบทบาทในการสร้างคนพันธุ์ใหม่ของ SCG ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วองค์กรในปัจจุบันและในอนาคต  คณะทำงาน Eager to Learn ที่มีบทบาทในการจัดกิจกรรมเพื่อให้พนักงาน SCG เป็นบุคคลที่ใฝ่หาความรู้และแบ่งปันอยู่ตลอดเวลา  นอกจากนั้นยังมีโครงการสร้าง Facilitators เป็นจำนวนหลายรุ่น ทั้งจากโครงการ Inno Facilitator และโครงการ Constructionism  เพื่อสร้างพนักงานที่ทำหน้าที่เป็น Change Agent กระจายอยู่ในแต่ละธุรกิจ


                                                          นางสาวพิรุณรัตน์  ศักดิ์แก้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น